บทเรียนจากชุมชน (Best Practice)
“ แนวคิดสู่การปฏิบัติ :
กองทุนแม่ของแผ่นดิน ”
บ้านบางนุ้ย
หมู่ที่ 6 ตำบลสินปุน
อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเขาพนม
ประเภทหนังสือ การถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้
ชื่อหนังสือ
บทเรียนจากชุมชน (Best Practice)
“ แนวคิดสู่การปฏิบัติ :
กองทุนแม่ของแผ่นดิน ”
บ้านบางนุ้ย
หมู่ที่ 6 ตำบลสินปุน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่
ที่ปรึกษา 1. นายวิโรจน์ สุวรรณวงค์ นายอำเภอเขาพนม
2.
นายสุรพล ไทยราษฎร์ พัฒนาการอำเภอเขาพนม
ผู้จัดทำ
1. นายเกรียงไกร ชูดวง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
2.
นายสมยศ เรืองจรัส นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
3. นางโสพัตร์ สืบสุข นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
4. นายธีระวัฒน์ พงศาปาน นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
5. นางสุมาลี ปิลวาสน์ ผอ.รพ.สต.บ้านมะม่วงเอน
ตำบลสินปุน
6.
น.ส.มลธิมา ศรีชาย เจ้าหน้าที่ กทบ. อำเภอเขาพนม
ปีที่พิมพ์ สิงหาคม 2556
แหล่งเผยแพร่ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกระบี่
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนกองทุนแม่ของแผ่นดินจุดตัวอย่างและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เขตพื้นที่อำเภอเขาพนม
คำนำ
ท่านคงเป็น “นักพัฒนา” ผู้หนึ่ง
ที่ใช้ชีวิตไปกับกระแสการพัฒนาวันแล้ววันเล่า ร่วมกับภาครัฐ
ภาคประชาสังคม
เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาชุมชน
ให้ดำเนินกิจกรรมไปได้ด้วยความรับผิดชอบ
ภาคภูมิใจ
เต็มไปด้วยศักดิ์ศรีแห่งความเป็นหนึ่งเดียวของชุมชน “ไม่เปลี่ยนความคิด ชีวิต
ไม่เปลี่ยน
เมื่อเปลี่ยนความคิด
ชีวิตก็เปลี่ยน” เราจะรู้ได้อย่างไรหากไม่นำบทเรียนที่ได้ปฏิบัติร่วมกันมาศึกษาเรียนรู้ หาวิธีการปฏิบัติที่ดีมีคุณค่า เผยแพร่และปรับใช้ในโอกาสต่อไป
บทเรียนจากชุมชน (Best Practice) เล่มนี้
เป็นการนำวิธีคิดและรูปแบบการทำงานของผู้นำและสมาชิก ในชุมชนที่ร่วมกันดำเนินงานโครงการ
“กองทุนแม่ของแผ่นดิน” ด้วยเทคนิค วิธีการที่ชุมชน นักพัฒนา
และภาคีทุกภาคส่วนร่วมกันปฏิบัติ
อันเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างพลังทางความคิด และความรู้สึกผ่านเวทีการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่า ความสำเร็จของหนังสือ ได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือของชุมชน
และทีมงานทุกคนที่ร่วมผลักดันการปฏิบัติงานด้วยเจตนาอันแรงกล้า ที่ให้ผลงานชิ้นนี้ เผยแพร่สู่สังคมนักพัฒนาชุมชน
ความผิดพลาดประการใด หากมีขึ้น
คณะผู้จัดทำใคร่ขอกราบอภัยไว้ ณ โอกาสนี้
แต่หากการจัดทำและบทเรียนที่ได้
มีประโยชน์ในทางใดๆก็ตาม
ขอมอบความดีและประโยชน์นี้ให้กับทุกคนในชุมชน
ที่ได้ร่วมมือปฏิบัติงานขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนให้เกิดความสมดุล มั่นคง
และยั่งยืนตลอดไป
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเขาพนม
สารบัญ
คำนำ
สารบัญ หน้า
บทที่ 1 บทนำ 1
ความสำคัญของปัญหา
วัตถุประสงค์ของการถอดบทเรียน สังเคราะห์องค์ความรู้ 2
ความสำคัญของปัญหา
วัตถุประสงค์ของการถอดบทเรียน สังเคราะห์องค์ความรู้ 2
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
กรอบ แนวคิด
การถอดบทเรียน สังเคราะห์องค์ความรู้ 3
(Best Practice)
บทที่ 2 แนวคิด หลักการ
ทฤษฎี และโครงการที่เกี่ยวข้อง 4
การจัดการความรู้คืออะไร
การถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้ 5
ความแตกต่างระหว่างข้อมูล ชุดบทเรียน/ประสบการณ์ 6
แนวทางการถอดบทเรียน 7
วิธีวิทยาการเรียนรู้จากบทเรียนที่ดี
(Good
/ Better / Best Practice)
ขั้นตอนการตรวจสอบบทเรียนที่ดีของโครงการ 8
กระบวนการของการศึกษา หรือการพัฒนาปัญญา 9
ทฤษฎีแรงกระตุ้น 10
กองทุนแม่ของแผ่นดิน 11
ปรัชญาแนวคิดกองทุนแม่ของแผ่นดิน 12
วัตถุประสงค์กองทุน
10
ขั้นตอนกองทุนแม่ของแผ่นดิน 13
บทที่ 3 เครื่องมือ วิธีการ
ขั้นตอนการถอดบทเรียน
สังเคราะห์องค์ความรู้ 14
ถอดบทเรียนด้วยเทคนิค
“เรื่องเล่า” (Story Technique)
วงจรการเล่าเรื่องหรือฟังเรื่องที่เขาเล่าให้ได้ผล
(Story telling
Loop) 15
เทคนิค AI กับบทเรียนชุมชน 16
ชุดเครื่องมือประเมินสถานการณ์ชุมชน 17
ขั้นตอนการถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้ 18
บทที่ 4 ผลการถอดบทเรียน สังเคราะห์องค์ความรู้ 19
ข้อมูลสินทรัพย์ชุมชน
สินทรัพย์เชิงองค์กร 20
ความสัมพันธ์ของกลุ่ม /
องค์กรชุมชนบ้านบางนุ้ย
การพัฒนาหมู่บ้านตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 21
รูปแบบความเคลื่อนไหว และแบบความคิดของกลุ่มพลังทางสังคม 24
ต่อการพัฒนาและแก้ปัญหาชุมชน
ผลการดำเนินงานตามกิจกรรม 10 ขั้นตอนกองทุนแม่ของแผ่นดิน 25
สรุปรายงานการประเมินตนเอง
(Self
– Assessment Report : SAR) 30
หลังปฏิบัติการ
บทที่ 5 บทสรุป ข้อคิดเห็น
ข้อเสนอแนะ 35
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
บทที่ 1
บทนำ
ความสำคัญของปัญหา
จากแนวคิดความร่วมมือการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐกับประชาชน ในการดำเนินงานโครงการต่างๆ ของภาครัฐและภาคประชาชน ที่ผ่านมา
ไม่ว่าการแก้ไขปัญหาใดๆก็ตาม
โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาด้านสังคม
หากให้รัฐดำเนินการแต่เพียงฝ่ายเดียว
จะได้ผลไม่ถึงเป้าหมายที่ต้องการ
และหากให้ประชาชนดำเนินการเองทั้งหมดก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่สมบูรณ์ได้เช่นกัน แต่หากทั้ง
2 ภาคส่วนมีเป้าหมายร่วมกัน ก็ควรให้มีการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกัน โดยมีบทบาทที่ชัดเจนของแต่ละภาคส่วนอย่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน การแก้ไขปัญหายาเสพติดตามโครงการ “กองทุนแม่ของแผ่นดิน”
จะเป็นโครงการที่ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้จริง
ทุกภาคส่วนของสังคมต้องดำเนินการในลักษณะร่วมกันทำงาน บูรณาการแนวคิด การปฏิบัติ
และต้องถือว่าปัญหายาเสพติดเป็นทุกข์
เป็นปัญหาของชุมชนที่รอการแก้ไขมานาน
และเป็นความโชคดีอย่างยิ่งที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ
และทางราชการมีน้ำใจมาช่วยเหลือด้วยอย่างไม่ทอดทิ้งให้เป็นปัญหาของประชาชนเพียงฝ่ายเดียว “พลังของประชาชนร่วมกับราชการ ช่วยก่อช่วยสานให้งานยั่งยืน”
ชุมชนบ้านบางนุ้ย หมู่ที่
6 ตำบลสินปุน อำเภอเขาพนม
จังหวัดกระบี่ มีลักษณะภูมิทัศน์เป็นชุมชนสภาพพื้นที่เนินเขาเตี้ยๆ พื้นที่ราบเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำการเกษตร ครัวเรือนในชุมชน 185
ครัวเรือน ประชากร 743
คน มีอาชีพหลักทำสวนยางพารา สวนปาล์ม
และการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว
ไก่ สัตว์อื่นๆ เพื่อขายเพิ่มรายได้ ดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีระยะทางจากหมู่บ้านถึงอำเภอเขาพนม ประมาณ
40 ก.ม. พื้นที่ชุมชนติดต่อแนวเขตอำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี วัด
สถานศึกษา และสถานพยาบาล ไม่มีในชุมชนใช้บริการนอกชุมชน อดีตที่ผ่านมาชุมชนได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของยาเสพติด
และสมาชิกในชุมชนหลงไปกับกระแสอบายมุขในทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน และผู้ว่างงานตามฤดูกาล เนื่องจากเป็นชุมชนห่างไกล การบริการจากภาครัฐไม่ทั่วถึง เป็นชุมชน
“ชายขอบ”
ในปีงบประมาณ 2550
ชุมชนบ้านบางนุ้ยได้รับการจัดตั้งให้เป็น
“หมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน”
ได้รับเงินขวัญถุงพระราชทาน
8,000 บาท ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลง มีการพัฒนาแนวคิดและการปฏิบัติ
ปัญหายาเสพติดในชุมชนได้รับการแก้ไขและพัฒนา เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นมาโดยตลอด มีกิจกรรมการพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ปัญหาเยาวชนมั่วสุมยาเสพติดและอบายมุขลดน้อยลง
จนสามารถควบคุมและปลอดภัยจากพิษภัยยาเสพติดไม่มีในชุมชน ผู้นำมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการชุมชนสูงขึ้น
หน่วยงานหลายภาคส่วนเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนา และในปี
2556 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นชุมชนตัวอย่างในการจัดตั้ง “ศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน” ระดับอำเภอ
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเขาพนมร่วมกับภาคีการพัฒนา ภายใต้นโยบายของนายอำเภอ เขาพนม
(นายวิโรจน์ สุวรรณวงค์)
ที่อยากเห็นความสำเร็จในกระบวนการพัฒนากองทุนแม่ของแผ่นดิน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จ เผยแพร่
แลกเปลี่ยนเรียนรู้
และปรับปรุงการปฏิบัติงานของภาคประชาชน
ภาคราชการ
ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
จึงได้กำหนดให้มีการศึกษาถอดบทเรียน
สังเคราะห์องค์ความรู้ ในชุมชนที่จัดตั้งเป็นหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน ครั้งนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์การถอดบทเรียน สังเคราะห์องค์ความรู้
1.
เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน
ที่เกิดขึ้นว่าสามารถสนองตอบ
(Responsiveness) ความต้องการของสมาชิกและความต้องการของสังคมส่วนรวม ได้
มากน้อย แค่ไหน
อย่างไร
2.
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนขีดความสามารถ (Competency) ที่เป็นนวัตกรรมในการทำงาน
และนวัตกรรมด้านการบริหาร จากการบริหารจัดการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ต่อผู้นำชุมชน
และสมาชิกในชุมชน
3. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์บทเรียน/องค์ความรู้
ที่ได้จากการปฏิบัติร่วมกัน แลกเปลี่ยน
เรียนรู้กับชุมชนอื่น ต่อไป
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ชุมชน ภาคีพัฒนา
ได้บทเรียนที่ดีจากการปฏิบัติงานที่ผ่านมา
จนสามารถพัฒนา
ปรับปรุงการดำเนินกิจกรรมกองทุนแม่ของแผ่นดินในชุมชน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. มีรูปแบบ แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน นำไปประยุกต์ใช้ในชุมชนอื่นได้ใน
โอกาสต่อไป
บทที่ 2
แนวคิด หลักการ ทฤษฎี
และโครงการที่เกี่ยวข้อง
การจัดการความรู้
ที่ผ่านมาและทุกวันนี้
ไม่ว่าเราจะนั่งที่ไหนในวงราชการหน่วยงานภาครัฐทั้งหลาย ไม่ว่าเจ้านายระดับสูงบนจังหวัด หรือ “ลุงมด” ผู้ปฏิบัติหน้าที่อยู่เวรยามศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช ก็พูดถึงการจัดการความรู้ ถ้าใครไม่พูดถึงการจัดการความรู้ การถอดองค์ความรู้ หรือการถอดบทเรียน ก็จะกลายเป็นคนล้าหลังไม่ทันสมัย เป็นคนตกกรอบอยู่นอกขอบการพัฒนา ผู้เขียนไม่แน่ใจเช่นกันว่า อยู่ๆ เราได้ยินคำเหล่านี้มาจากไหน เมื่อไหร่กันแน่ แต่จากแนวคิดการจัดการความรู้ การถอดองค์ความรู้ได้พัฒนามาจากทฤษฎีสามเลี่ยมเขยื้อนภูเขาของท่านอาจารย์ประเวศ วะสี
โดยท่านเสนอว่าการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นนั้น ต้องประสานพลังสามส่วน และดำเนินการไปพร้อมกัน ได้แก่พลังความรู้ พลังสังคม
และพลังการเมือง
(วีระ นิลไตรรัตน์,2549) ทฤษฎีดังกล่าวได้รับการขานรับ และถูกแปรไปสู่การปฏิบัติโดยนักพัฒนาที่อยู่ในส่วนต่างๆ ของขบวนการพัฒนาสังคมทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะพลังความรู้นั้นมีองค์กรเข้ามารองรับภารกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการความรู้กันอย่างมากมาย ให้เกิดการคิดค้นแลกเปลี่ยนกระบวนวิธีการจัดการความรู้ในแวดวงนักพัฒนาสังคม ดำเนินไปอย่างกว้างขวางต่อเนื่อง
(วีระ นิลไตรรัตน์,2549) ทฤษฎีดังกล่าวได้รับการขานรับ และถูกแปรไปสู่การปฏิบัติโดยนักพัฒนาที่อยู่ในส่วนต่างๆ ของขบวนการพัฒนาสังคมทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะพลังความรู้นั้นมีองค์กรเข้ามารองรับภารกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการความรู้กันอย่างมากมาย ให้เกิดการคิดค้นแลกเปลี่ยนกระบวนวิธีการจัดการความรู้ในแวดวงนักพัฒนาสังคม ดำเนินไปอย่างกว้างขวางต่อเนื่อง
การจัดการความรู้คืออะไร
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช , (2549)
แห่งสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ได้ให้ความหมายถึงการจัดการความรู้ว่า การจัดการความรู้เป็นกระบวนการ (Process) ที่ดำเนินการร่วมกัน โดยผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือหน่วยงานย่อยขององค์กร
เพื่อสร้างและใช้ความรู้ในการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ดีขึ้นกว่าเดิม
การจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่เป็นวงจรต่อเนื่องเกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เป้าหมาย คือ การพัฒนางานและการพัฒนาคน โดยมีความรู้เป็นเครื่องมือ มีกระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ “การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือไม่ใช่เป้าหมาย”
การจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่เป็นวงจรต่อเนื่องเกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เป้าหมาย คือ การพัฒนางานและการพัฒนาคน โดยมีความรู้เป็นเครื่องมือ มีกระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ “การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือไม่ใช่เป้าหมาย”
ศุภวัลย์ พลายน้อย , (2547) ได้ให้นิยามของการจัดการความรู้ว่า
การจัดการความรู้เป็นกระบวนการนำความรู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่เป็นประโยชน์และสำคัญต่อองค์กร มาจำแนก
วิเคราะห์ จัดระเบียบ เพื่อให้ง่ายแก่การใช้อย่างสร้างสรรค์ นั่นคือ
การนำไปสู่นวัตกรรม
วีระ
นิลไตรรัตน์ , (2549) ให้ความหมายว่าการจัดการความรู้ หมายถึง
กระบวนการในการจัดเก็บ รวบรวม จัดทำฐานข้อมูล การสรุป
วิเคราะห์ข้อมูล
การสังเคราะห์ข้อมูลให้ได้ความรู้ใหม่
รวมทั้งการนำความรู้ใหม่ไปใช้ประโยชน์
ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมโดยรวมด้วย
การจัดการความรู้
จึงเริ่มที่ปณิธานความมุ่งมั่นที่สมาชิกองค์กร
หรือเครือข่ายมุ่งหวังร่วมกันในการใช้ความรู้เป็นพลังในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อประโยชน์ขององค์กร เครือข่ายและสังคมส่วนรวม
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช , (2549) ได้พูดถึงการจัดการความรู้สำหรับนักปฏิบัติว่า การจัดการความรู้คือเครื่องมือเพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้
และบรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงานการจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่าง น้อย 6 ประการ ต่อความรู้ ได้แก่ (1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่อ- 5 -
งานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร (2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ (3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน
ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน (4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน (5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน
และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้ (6) การจดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” สำหรับไว้ใช้งาน
และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น
เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น โดยที่ การดำเนินการ 6 ประการนี้บูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน ความรู้ที่เกี่ยวข้องเป็นทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง อยู่ในรูปของตัวหนังสือหรือรหัสอย่างอื่นที่เข้าใจได้ทั่วไป
(Explicit Knowledge) และความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในคน
ทั้งที่อยู่ในใจ (ความเชื่อ ค่านิยม) อยู่ในสมอง (เหตุผล) และอยู่ในมือ และส่วนอื่นๆ
ของร่างกาย (ทักษะในการปฏิบัติ)
การจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่คนจำนวนหนึ่งทำร่วมกันไม่ใช่กิจกรรมที่ทำโดยคนคนเดียว
เนื่องจากชื่อว่า
“จัดการความรู้” จึงมีคนเข้าใจผิด
เริ่มดำเนินการโดยรี่เข้าไปที่ความรู้ คือ เริ่มที่ความรู้ นี่คือความผิดพลาดที่พบบ่อยมาก
การจัดการความรู้ที่ถูกต้องจะต้องเริ่มที่งานหรือเป้าหมายของงาน
เป้าหมายของงานที่สำคัญ
คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ที่เรียกว่า Operation Effectiveness และนิยามผลสัมฤทธิ์ ออกเป็น 4 ส่วน คือ (1) การสนองตอบ (Responsiveness) ซึ่งรวมทั้งการสนองตอบความต้องการของลูกค้า
สนองตอบความต้องการของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น สนองตอบความต้องการของพนักงาน และสนองตอบความต้องการของสังคมส่วนรวม (2) การมีนวัตกรรม (Innovation) ทั้งที่เป็นนวัตกรรมในการทำงาน
และนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ (3) ขีดความสามารถ
(Competency) ขององค์กร และของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น ซึ่งสะท้อนสภาพการเรียนรู้ขององค์กร
และ(4) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งหมายถึงสัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ กับต้นทุนที่ลงไป
การทำงานที่ประสิทธิภาพสูง หมายถึง การทำงานที่ลงทุนลงแรงน้อย
แต่ได้ผลมากหรือคุณภาพสูง
เป้าหมายสุดท้ายของการจัดการความรู้
คือ การที่กลุ่มคนที่ดำเนินการจัดการความรู้ร่วมกัน มีชุดความรู้ของตนเอง ที่ร่วมกันสร้างเอง
สำหรับใช้งานของตน คนเหล่านี้จะสร้างความรู้ขึ้นใช้เองอยู่ตลอดเวลา โดยที่การสร้างนั้นเป็นการสร้างเพียงบางส่วน
เป็นการสร้างผ่านการทดลองเอาความรู้จากภายนอกมาปรับปรุงให้เหมาะต่อสภาพของตน และทดลองใช้งาน
การถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้
ศุภวัลย์ พลายน้อย , (2547) กล่าวว่า
การถอดบทเรียนหรือการถอดองค์ความรู้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดการความรู้ มีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อสืบค้นกระบวนการ วิธีการดำเนินงานของกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา ไม่เน้นระเบียบวิธีเหมือนงานวิจัย แต่จะเน้นการพูดคุย สัมภาษณ์
เล่าเรื่อง
และสังเคราะห์จับประเด็นให้ได้กระบวนวิธีดำเนินงานในเชิงบทเรียน ประสบการณ์ที่ดำเนินการผ่านมาจริงๆ ผลลัพธ์จะเป็นเอกสารที่สื่อ แสดงออกมาอย่างง่ายๆ เล็กๆ
บางๆ ไม่ซับซ้อน
ผู้ที่สนใจค้นคว้าสามารถนำไปปรับใช้ได้ง่าย สะดวก
องค์ความรู้ทั่วไป
องค์ความรู้ทั่วไปนั้นเกิดจากการทดลอง ปฏิบัติซ้ำ
มีการสังเกต จดบันทึก วิเคราะห์หาเงื่อนไขปัจจัยต่างๆ จนได้ข้อสรุปเป็นความรู้ใหม่ในเรื่องนั้นๆ ซึ่งเป็นความรู้ที่เข้าใจได้ ปฏิบัติได้
ขยายผลได้ ประกอบด้วย ข้อมูลทั้งในเชิงประมาณ คุณภาพ
รวมทั้งความรู้ในเชิงเทคนิควิธีด้วย
- 6
-
องค์ความรู้ชุมชน
องค์ความรู้ชุมชนนั้นเกิดจากการดำเนินชีวิตและทำงานของชุมชน ชาวบ้าน
จนเกิดเป็นความเข้าใจ
ความชำนาญรู้ลึก
สามารถถ่ายทอดและนำไปใช้ต่อๆ กัน
ในวิถีชีวิตประจำวันได้
มีการปรับปรุงพัฒนาให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของชุมชน และมีการสืบทอดโดยวิถีทางวัฒนธรรมของชุมชน เป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาของชุมชนได้จริง
ความแตกต่างระหว่างข้อมูล ชุดบทเรียน/ประสบการณ์
ข้อมูล ได้จากการเก็บรวบรวมเป็นบันทึกการกระทำในเรื่องนั้นๆ อย่างเป็นขั้นตอน มีตัวเลขในเชิงปริมาณ มีการบรรยายในเชิงคุณภาพ ข้อมูลเปลี่ยนแปลงได้ พัฒนาต่อเนื่องไปเป็นองค์ความรู้ได้
ชุดบทเรียน/ประสบการณ์
ได้จากการสรุปทบทวนกระบวนการทำงานที่ผ่านมา โดยการวิเคราะห์กระบวนการทำงานในเรื่องนั้นๆ
ทั้งหมด
เพื่อค้นหาว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ
องค์ความรู้ ได้จากการนำชุดบทเรียน /
ประสบการณ์มาปฏิบัติการซ้ำซาก
พัฒนายกระดับการทำงานอย่างต่อเนื่อง
จนเกิดความชัดเจน
มีการถ่ายทอดได้
เขียนเป็นหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ได้
ภูมิปัญญา
เป็นความรู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้จริง สั่งสมสืบทอดกันอยู่ในชุมชนท้องถิ่นกันมายาวนาน
ความสำคัญขององค์ความรู้ชุมชน
องค์ความรู้ชุมชนเป็นมรดกของชุมชน
ซึ่งก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว ชุมชนท้องถิ่น
เป็นต้นทุนในการพัฒนาแก้ปัญหาชุมชนท้องถิ่น
พัฒนาให้เป็นหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อใช้ในการเรียน การสอนสำหรับสถานศึกษาได้
บทเรียน
(Lesson Learned ) คืออะไร
บทเรียนคล้ายๆ กับคำกล่าวว่า
“ถ้า...จะเกิดอะไรขึ้น” (เช่น ถ้าเราทำผิดกฎจราจร จะถูกปรับ
เป็นต้น)
บทเรียนจะอธิบายเหตุการณ์และเงื่อนไขที่เกิดขึ้น และคำอธิบายนั้นจะต้องมีคุณค่าในการนำไปปฏิบัติ
ซึ่งคำอธิบายที่ชัดเจนจะต้องมีตัวชี้วัดที่ดี ที่สะท้อนว่าเกิดอำไรขึ้น และเกิดการเรียนรู้อะไรในกระบวนการนั้น
บทเรียนจะต้องระบุว่า
"อะไรใหม่" (What) หรือ "อะไรคือข้อมูลใหม่" บทเรียนต้องมิใช่การเล่าเรื่องในอดีตเท่านั้น
ลักษณะของบทเรียน อาจจำแนกได้
๒ แบบ คือ
1. บทเรียนที่เกิดขึ้นทันทีเมื่อจบเหตุการณ์ (Active process)
2. บทเรียนที่เก็บสะสมข้อมูลในอดีต (Passive process)
1. บทเรียนที่เกิดขึ้นทันทีเมื่อจบเหตุการณ์ (Active process)
2. บทเรียนที่เก็บสะสมข้อมูลในอดีต (Passive process)
แนวทางในการถอดบทเรียน
การถอดบทเรียน นั้น มีมากกว่าการตั้งคำถามว่า "ได้บทเรียนอะไรจากการทำงานในปีที่ผ่านมา" การถอดบทเรียนควรพิจารณาสิ่งต่อไปนี้
1.
การเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้น หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไม่ควรไปแสวงหาคำตอบว่าได้บทเรียนอะไร
2. หากมีผลสืบเนื่องที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงคล้ายๆ กันต้องพยายามตอบให้ได้ว่า "อะไรสำคัญที่สุด" และ "ทำไมจึงสำคัญ"
2. หากมีผลสืบเนื่องที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงคล้ายๆ กันต้องพยายามตอบให้ได้ว่า "อะไรสำคัญที่สุด" และ "ทำไมจึงสำคัญ"
- 7 -
3. บทเรียน มิใช่ความแตกต่างที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งที่คาดหมายกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
เพราะสิ่งนั้นคือ สมมุติฐาน แต่หากมีสิ่งที่ไม่ได้คาดหมายเกิดขึ้นแสดงว่ามีอะไรทำให้เกิดความแตกต่าง
และ "อะไร" ที่ทำให้เกิดความแตกต่างนั้นก่อให้เกิดผลอย่างไร
สิ่งนั้น คือ บทเรียน
วิธีวิทยาในการถอดบทเรียน
คำว่าวิธีวิทยาตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Methodology ซึ่งมาจากภาษาละตินว่า Methodus + Dogia และมาจากภาษากรีกว่า Methodos (Meta + hodos = way) + logie ดังนั้น จึงหมายถึง
การศึกษาที่มีระบบเกี่ยวกับวิธีการหรือเทคนิควิธี
คุณค่าของวิธีวิทยา
มิได้อยู่ที่ความแพร่หลายหรือความนิยมชมชอบ
แต่อยู่ที่วิธีวิทยานั้นได้สร้างความรู้และนำไปสู่การใช้ประโยชน์จากความรู้นั้นได้มากน้อยเพียงใด ดังนั้นไม่ว่าจะใช้วิธีวิทยาใดต่อไปนี้ สิ่งที่พึงตระหนักอยู่ตลอดเวลา คือ
ความตรงในการสรุปบทเรียน ที่มีทั้งความตรงภายใน
(Internal Validity)
ที่สามารถสรุปได้ตรงกับความจริงที่เกิดขึ้น และความตรงภายนอก (External Validity) ที่สามารถอ้างอิงใช้ประโยชน์ได้
บทเรียนที่มีความตรงภายนอกจะถือว่าเป็นบทเรียนที่มีคุณภาพสูง (High – quality lesson
learned)
วิธีวิทยาการเรียนรู้จากบทเรียนที่ดี (Good /
Better / Best Practice)
การเรียนรู้จากบทเรียนที่ดี มีการใช้คำว่า
“ดี – good , ดีกว่า - Better , ดีที่สุด
– Best”
โดยผู่ที่ไม่ชอบคำว่า “ดีที่สุด – Best” ได้โต้เถียงว่า ไม่มีอะไรดีที่สุด หรือดีที่สุดสำหรับใคร หรือภายใต้สถานการณ์ใด เป็นต้น
อันที่จริงแล้วสาระสำคัญของเรื่องนี้มิได้อยู่ที่วิวาทะของคำที่ใช้เรียก แต่อยู่ที่เนื้อหาสาระ ในที่นี้จึงขอใช้คำว่า “บทเรียนที่ดี
หรือ Best Practice หรือ BP”
BP เป็นแนวคิดที่ก่อตัวจากทฤษฎีการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง (Learning by
doing) BP ถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการจัดการทางธุรกิจในการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ที่นอกเหนือจากการสรุปผลรวม (Summative Evaluation) ในอดีต
การประเมินสรุปผลรวมของความสำเร็จตามตัวชี้วัดที่เกิดขึ้นอาจไม่เพียงพอในการบ่งบอกทิศทางในอนาคต
ต่อมา BP ถูกนำมาใช้ในงานดูแลสุขภาพและคลินิก
ปัจจุบันนำมาใช้มากในงานของรัฐและเอกสารทางวิชาการ
แนวคิดหลักของบทเรียนที่ดี (Best
Practice)
BP
เป็นแนวคิด (Approach) มิใช่เป็นเพียงเครื่องมือ (Tool) แนวคิดหลักของ
BP
เกี่ยวข้องกับคำว่า “คุณภาพ (Quality)” ที่ถูกนิยามด้วย “การทำสิ่งที่ถูกต้อง และปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง”
- 8 -
ขั้นตอนการตรวจสอบบทเรียนที่ดีของโครงการ (Best
Practice) มีดังนี้
1. ผู้เข้าร่วมประชุมตกลงร่วมกัน ในรายการเกณฑ์ที่จะใช้ในการประเมินโครงการในการประชุมถอดบทเรียน
2. แต่ละกลุ่มนำเสนอโครงการและผลการดำเนินงานของตนเอง
3. กลุ่มช่วยกันสรุปกระบวนการทำงานในแต่ละขั้นตอนของโครงการ ที่จะให้ประสบผลสำเร็จ ขั้นตอนที่ต้องการแลกเปลี่ยนความรู้ขององค์กรเพื่อหาส่วนที่ดีที่สุด
- 9 -
กระบวนการของการศึกษา หรือการพัฒนาปัญญา
พระธรรมปิฎก
(ประยุทธ์ ปยุตโต) , (2542)
ได้กล่าวถึงจุดเริ่มของการศึกษาและความไร้การศึกษา ตัวแท้ของการศึกษา คือการพัฒนาตนโดยมีการพัฒนาปัญญาเป็นแกนกลางนั้น เป็นกระบวนการที่ดำเนินไปภายในตัวบุคคล แกนนำของกระบวนการแห่งการศึกษา ได้แก่
ความรู้ความเข้าใจ
ความคิดเห็น แนวความคิด ทัศนคติ
ค่านิยมที่ถูกต้องดีงาน
เกื้อกูลแก่ชีวิตและสังคม
สอดคล้องกับความเป็นจริง
เรียกสั้นๆ ว่า สัมมาทิฏฐิ เมื่อรู้เข้าใจ คิดเห็นดีงาม
ถูกต้องตรงตามความจริงแล้ว การคิด การพูด
การกระทำ
และการแสดงออกหรือปฏิบัติการต่างๆ ก็ถูกต้องดีงาม เกื้อกูล
นำไปสู้การดับทุกข์แก้ไขปัญหาได้
ในทางตรงกันข้าม ถ้ารู้ เข้าใจ
คิดเห็นผิด มีค่านิยม ทัศนคติ
แนวความคิดที่ผิด
ที่เรียกว่ามิจฉาทิฏฐิ แล้ว การคิด การพูด การกระทำ การแสดงออก
และปฏิบัติการต่างๆ ก็พลอยดำเนินไปในทางที่ผิดพลาดด้วย แทนที่จะแก้ไขปัญหาดับทุกข์ได้ ก็กลายเป็นก่อทุกข์ สั่งสมปัญหาให้เพิ่มพูนร้ายแรงยิ่งขึ้น
สัมมาทิฏฐิ นั้น แยกได้เป็น 2 ระดับ คือ
1. ทัศนะ ความคิดเห็น แนวความคิด ทฤษฎี ความเชื่อถือ ความนิยม ค่านิยม จำพวกที่เชื่อหรือยอมรับการกระทำและผลการกระทำของตน หรือสร้างความสำนึกในความรับผิดชอบต่อการกระทำของตน พูดอย่างชาวบ้านว่า เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม เรียกสั้นๆ ว่า กัมมัสสกตา สัมมาทิฏฐิ เป็นสัมมาทิฏฐิระดับโลกีย์ เป็นขั้นจริยะธรรม
2. ทัศนะ แนวความคิด ที่มองเห็นความเป็นไปของสิ่งทั้งหลายตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย ความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามสภาวะของมันหรือตามที่มันเป็น ไม่เอนเอียงไปตามความชอบความชังของตน หรือตามที่อยากให้มันเป็นอยากไม่ให้มันเป็น ความรู้ความเข้าใจสอดคล้องกับความเป็นจริงแห่งธรรมดา เรียกสั้นๆ ว่า สัจจานุโลมิกญาณ เป็นสัมมาทิฏฐิแนวโลกุตระเป็นขั้น สัจธรรม
1. ทัศนะ ความคิดเห็น แนวความคิด ทฤษฎี ความเชื่อถือ ความนิยม ค่านิยม จำพวกที่เชื่อหรือยอมรับการกระทำและผลการกระทำของตน หรือสร้างความสำนึกในความรับผิดชอบต่อการกระทำของตน พูดอย่างชาวบ้านว่า เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม เรียกสั้นๆ ว่า กัมมัสสกตา สัมมาทิฏฐิ เป็นสัมมาทิฏฐิระดับโลกีย์ เป็นขั้นจริยะธรรม
2. ทัศนะ แนวความคิด ที่มองเห็นความเป็นไปของสิ่งทั้งหลายตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย ความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามสภาวะของมันหรือตามที่มันเป็น ไม่เอนเอียงไปตามความชอบความชังของตน หรือตามที่อยากให้มันเป็นอยากไม่ให้มันเป็น ความรู้ความเข้าใจสอดคล้องกับความเป็นจริงแห่งธรรมดา เรียกสั้นๆ ว่า สัจจานุโลมิกญาณ เป็นสัมมาทิฏฐิแนวโลกุตระเป็นขั้น สัจธรรม
กระบวนการของการศึกษา
ได้กล่าวแล้วว่า แกนนำแห่งกระบวนการของการศึกษา ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ เมื่อสัมมทิฏฐิเป็นแกนนำและเป็นฐานแล้ว
กระบวนการแห่งการศึกษาภายในตัวบุคคลก็ดำเนินไปได้ กระบวนการนี้แบ่งเป็น 3
ขั้นตอนใหญ่ๆ เรียกว่า ไตรสิกขา
(สิกขา หรือหลักการศึกษา 3
ประการ) คือ
1.
การฝึกฝนอบรมในด้านความประพฤติ
ระเบียบวินัย
ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีวะ
เรียกว่า อธิสีลสิกขา (เรียกกันง่ายๆ ว่า ศีล)
2.
การฝึกฝนอบรมทางจิตใจ
การปลูกฝังคุณธรรม
สร้างเสริมคุณภาพ สมรรถภาพ และสุขภาพของจิต เรียกว่า
อธิจิตตสิกขา
(เรียกกันง่ายๆ ว่า สมาธิ)
3.
การฝึกฝนอบรมทางปัญญา
ให้เกิดความรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ทำให้แก้ไขปัญหาไปตามแนวทางเหตุผล รู้เท่าทันโลกและชีวิต จนสามารถทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หลุดพ้นจากความยึดติดถือมั่นในสิ่งต่างๆ ดับกิเลสดับทุกข์ได้ เป็นอยู่ด้วยจิตใจอิสระผ่องใสเบิกบาน เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา (เรียกกันง่ายๆ ว่า ปัญญา)
หลักการศึกษา 3
ประการนี้
จัดวางขึ้นโดยอาศัยหลักปฏิบัติที่เรียกว่า
วิธีแก้ปัญหาของอารยชนเป็นพื้นฐาน วิธีแก้ปัญหาแบบอารยชนนี้ เรียกตามคำบาลีว่า อริยมรรค
แปลว่า
ทางดำเนินสู่ความดับทุกข์ที่ทำให้เป็นอริยชน หรือวิธีดำเนินชีวิตที่ประเสริฐ
- 10
-
ทฤษฎีแรงกระตุ้น
ROBERT HELLER , (2546) ได้กล่าวถึงทฤษฎีแรงกระตุ้น สรุปว่า
ถ้าให้โอกาสและใช้สิ่งกระตุ้นเร้าที่ถูกต้อง คนจะทำงานได้ดีและพัฒนาได้ในเชิงบวก ในฐานะผู้นำ
ผู้บริหาร พึงรู้ว่าสิ่งเร้า หรือ “พลังกระตุ้น” คืออะไร นักทฤษฎี
อับราฮัม มาสโลว์ จัดกลุ่มพลังกระตุ้นไว้ 5
กลุ่ม
แบ่งเป็นความต้องการทางกายภาพ ความต้องการความปลอดภัย ความต้องการทางสังคม ความต้องการการยอมรับนับถือ และการรู้จักตัวเอง ตามทฤษฎีของมาสโลว์ ความต้องการเกิดขึ้นเป็นขั้นๆ ตามลำดับ
ถ้าตอบสนองความต้องการ หนึ่งได้ ความต้องการขั้นต่อไปก็จะตามมา และเมื่อความต้องการหนึ่งได้รับการตอบสนองจนเป็นที่พอใจแล้ว ก็จะไม่เป็นสิ่งกระตุ้นเร้าอีกต่อไป
- 11 -
ทำความรู้จัก
“กองทุนแม่ของแผ่นดิน”
ตามที่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
ได้มีกระแสพระราชดำรัสในโอกาสที่คณะบุคคลได้เข้าเฝ้าฯถวายพระพรเนื่องในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา
เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต นั้น
พระองค์ได้แสดงความกังวลพระราชหฤทัยเป็นอย่างมากต่อปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด และได้ทรงพระราชทานแนวทางการให้ภาคประชาชนได้ร่วมมือกันช่วยเหลือรัฐบาลในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
ซึ่งแนวทางหนึ่งที่ได้ทรงมีพระราชปรารภถึงก็คือ“กองทุนแม่ของแผ่นดิน”
พระองค์ได้ทรงทบทวนว่าเคยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้สานักงาน
ป.ป.ส. ตั้งแต่ปี
๒๕๔๖ ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นกองทุนแม่ของแผ่นดินตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ทรงมีความมุ่งหวังว่ากองทุนแม่ของแผ่นดินจะสามารถช่วยเหลือการแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศได้อย่างมาก
เพื่อให้การดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดินเป็นไปตามพระราชประสงค์
สามารถตอบโจทย์การแก้ไขปัญหายาเสพติดของหมู่บ้าน/ชุมชนได้โดยตรง สานักงาน ป.ป.ส.
จึงได้กำหนดแนวทางกระบวนการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดินขึ้นใหม่ เพื่อให้ผู้นำกองทุนแม่ของแผ่นดินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ดำเนินงานได้เอง
ให้เป็นแนวทางเดียวกัน โดยให้มีการรายงานผลการดำเนินงานในแต่ละห้วงระยะเวลาได้อย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีผลการดำเนินงานในระดับศูนย์เรียนรู้ กองทุนดีเด่น
หรือกองทุนของหมู่บ้าน/ชุมชนที่อยู่ในระดับทั่วไป เพื่อร่วมกันสนองพระราชปณิธานการแก้ไขปัญหายาเสพติดภายใต้พระบารมีของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อไป
ความเป็นมา
เมื่อปีพุทธศักราช
๒๕๔๖ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จแปรพระราชฐานไปเยี่ยมพสกนิกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พระองค์ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรของหมู่บ้านที่เคยมีปัญหายาเสพติดและสามารถไขปัญหาได้ด้วยพลังของประชาชน
ที่ อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี ตามกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง
ด้วยการใช้แนวทางสันติวิธีให้ผู้เคยค้าเคยเสพ ในระดับหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากผู้ที่เป็น“ภาระ” ให้กลับมาเป็น“พลัง”
ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้กับหมู่บ้านของตนเอง โดยที่ภาครัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุน
ทรงพอพระราชหฤทัยในการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีนี้อย่างมาก
ในการเสด็จฯ
ครั้งนั้นพระองค์ได้ประทับแรม ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ และได้เสด็จลงเยี่ยมราษฎร ที่เป็นมวลชนกลุ่มต่าง ๆ ที่ไปเข้าเฝ้าฯ
ณ โครงการชลประทานสกลนคร(ห้วยเดียก) อ.ภูพาน จ.สกลนคร
พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ เลขาธิการ ป.ป.ส. (ในขณะนั้น) จึงได้ขอพระราชทานพระราชวโรกาสนำตัวแทนกลุ่มราษฎรอาสาป้องกันภัยยาเสพติด
(รสปส.) เข้าเฝ้าฯ ด้วย มีการแสดงละครหน้าพระที่นั่งเพื่อสื่อให้ทอดพระเนตรถึงการแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยพลังของชุมชน
และการให้อภัยผู้ค้าผู้เสพระดับหมู่บ้านตามแนวทางสันติ แล้วมีการปฏิญาณตนขอเลิกยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและขอเป็นกาลังในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของชาติตลอดไป
ในวันนั้นพระองค์ท่าน ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้กับเลขาธิการ
ป.ป.ส.จำนวนหนึ่งเพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้กับประชาชนต่อไป
ตั้งแต่ที่สมเด็จพระนางเจ้า
ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ผ่านเลขาธิการ ป.ป.ส. เพื่อให้เป็นประโยชน์ของหมู่บ้านและชุมชนต่าง ๆ
ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดนั้น หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งราษฎรอาสาสมัครทั้งหลายจึงมีความเห็น
- 12 -
ร่วมกันว่า พระราชทรัพย์ที่ได้รับพระราชทานนั้นถือเป็นมงคลสูงสุด
เป็นเสมือนพระราชปณิธานของพระองค์ ที่ทรงจะให้มีการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านและชุมชน
หากได้นำพระราชทรัพย์พระราชทานนี้ ไปไว้ที่หมู่บ้านและชุมชน ก็จะเป็นขวัญกำลังใจสูงสุดของปวงราษฎรทั้งหลายที่จะดำเนินการให้พระราชปณิธานของพระองค์บรรลุผล
ซึ่งย่อมหมายถึงความสงบสุข ร่มเย็น ปราศจากปัญหายาเสพติด จึงได้เรียกพระราชทรัพย์พระราชทานนี้ว่า
“กองทุนแม่ของแผ่นดิน” และเรียกชื่อหมู่บ้านและชุมชนที่ได้รับกองทุนแม่ของแผ่นดินว่า
“หมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน” โดยมีการพระราชทานกองทุนแม่ของแผ่นดินครั้งแรก
เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๗ ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา
สิริวัฒนาพรรณวดี ได้เสด็จแทนพระองค์สมเด็จ พระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ มาเป็นประธานในพิธีพระราชทานกองทุนแม่ของแผ่นดินให้กับผู้แทนหมู่บ้าน/ชุมชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นจำนวน ๖๗๒ หมู่บ้าน/ชุมชน
ปรัชญาแนวคิดกองทุนแม่ของแผ่นดิน
คาว่า กองทุนแม่ของแผ่นดิน
มีองค์ประกอบ ๓ ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ ๑ เรียกว่า
เงินขวัญถุงพระราชทาน เป็นพระราชทรัพย์ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับหมู่บ้านและชุมชน
โดยสานักงาน ป.ป.ส. ได้สมทบงบประมาณส่วนหนึ่งนำมาจัดสรรให้กับหมู่บ้านและชุมชน
แห่งละ ๘,๐๐๐ บาท เงินจำนวนนี้ เปรียบเสมือนสิ่งที่ระลึกถึงแห่ง พระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
เป็นเงินพระราชทานอันเป็นสัญลักษณ์แห่ง พระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น จึงถือเป็นเงินศักดิ์สิทธิ์อันหาที่เสมอเหมือนมิได้
จึงเก็บไว้เป็นเงินขวัญถุง ในหมู่บ้าน/ชุมชน โดยไม่มีการใช้จ่าย
ส่วนที่ ๒ เรียกว่า
ทุนศรัทธา เป็นเงินที่ราษฎรในหมู่บ้านและชุมชนที่ได้รับกองทุนแม่ของแผ่นดิน
จะร่วมกันบริจาคอย่างต่อเนื่องและรวบรวมขึ้นด้วยพลังความศรัทธา สมทบเข้ากองทุนแม่ของแผ่นดินในแต่ละหมู่บ้าน
เป็นการแสดงออกถึงทุนทางสังคมของหมู่บ้าน/ชุมชนที่ต้องการไม่ให้มีปัญหายาเสพติด ในหมู่บ้านอย่างเป็นรูปธรรม
ส่วนที่ ๓ เรียกว่า
ทุนปัญญา เป็นเงินที่ราษฎรในหมู่บ้านและชุมชนดังกล่าว คิดค้นขึ้น ด้วยภูมิปัญญาของตนเองในการระดมทุนเพื่อขยายกองทุน
ให้กองทุนมีการงอกเงยขึ้น จนสามารถนำไปใช้จ่ายเพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดของหมู่บ้านได้อย่างเพียงพอต่อไป
กองทุนแม่ของแผ่นดิน
ที่เป็นผลจากการระดมทุนจากทุนศรัทธา และทุนปัญญา ราษฎรในหมู่บ้านและชุมชนจะนำไปใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
รวมทั้งปัญหาอื่น ๆ จนสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนบนวิถีแห่งความพอเพียง ไม่ว่าจะเป็นการสมทบทุนช่วยเหลือการบำบัดรักษาของผู้เสพยาเสพติด
การส่งเสริมอาชีพ การสนับสนุนกิจกรรมกลุ่มเสี่ยงยาเสพติดและกิจกรรมเยาวชน การเฝ้าระวังและรักษาพื้นที่
การสนับสนุนทุนการศึกษาของเยาวชน การส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง การช่วยเหลือความเดือดร้อนต่างๆ
ในชุมชน รวมถึง การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของชุมชน ฯลฯ จนแทบจะกล่าวได้ว่า กองทุนแม่ของแผ่นดิน
คือ กองทุนที่รวมจิตใจของผู้คน เพื่อช่วยเหลือผู้คนที่ทุกข์ยาก นับเป็น ทุนเริ่มต้น แห่งความดีงาม
- 13 -
วัตถุประสงค์ของกองทุน
๑. เพื่อขยายพลังแห่งความดีของคนในหมู่บ้าน ชุมชน ให้กว้างขวางขึ้น
๒. เพื่อเสริมสร้างกระบวนการในหมู่บ้าน ชุมชน ด้านความคิด ความรู้ การแลกเปลี่ยน การรวมกลุ่มและความตื่นตัว เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน
ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหายาเสพติด เพื่อให้หมู่บ้าน ชุมชน ใช้กระบวนการดังกล่าวให้บรรลุถึงความเข้มแข็งได้อย่างแท้จริง
๓. เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ สนับสนุนให้คนทำดี และเสียสละ เพื่อหมู่บ้าน ชุมชน
๔. เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียง เพื่อการพึ่งพาตนเอง และพึ่งพา ซึ่งกันและกันอย่างยั่งยืน เป็นผลทำให้ปัญหาพื้นฐานของหมู่บ้าน ชุมชน ลดลง
๕. เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน ชุมชน อย่างยั่งยืน และพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้หมู่บ้าน
ชุมชน เพื่อก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนทั้งภายในและระหว่างหมู่บ้าน ชุมชน
10 ขั้นตอนกองทุนแม่ของแผ่นดิน
1. ทำความเข้าใจโครงการทุกครัวเรือน
2. รับสมัครคณะกรรมการกองทุนแม่
3. รับสมัครครัวเรือนสมาชิกเข้าร่วมโครงการ
4. จัดตั้งกฎชุมชนเข้มแข็ง
5. ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องยาเสพติด
6. จัดตั้งกองทุนแก้ไขปัญหายาเสพติด
7. ประชาคมคัดแยกด้วยสันติวิธี
8. จัดกิจกรรมร่วมกันของสมาชิก ( อย่างต่อเนื่อง )
9. รับรองครัวเรือนปลอดภัย
10. รักษาสถานะของชุมชนเข้มแข็ง
บทที่ 3
เครื่องมือ วิธีการ
ขั้นตอน การถอดบทเรียน สังเคราะห์องความรู้
การดำเนินการถอดบทเรียนหรือถอดองค์ความรู้ชุมชน
เกิดจากการปฏิบัติจริงในโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ตามประเด็นที่สนในและต้องการศึกษา เราสามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ มีเทคนิค
เครื่องมือ
วิธีการและขั้นตอนที่แตกต่างกันไป ซึ่งต้องอาศัยทักษะความชำนาญ และประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติการ แต่ละคนอาจมีลีลาการก้าวย่างที่ไม่เหมือนกัน
แต่เราก็สามารถเดินทางสู่เป้าหมายเดียวกันได้ คือการพัฒนางาน พัฒนาคน
และพัฒนาฐานความรู้
เพื่อการพัฒนาสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
การถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้จากชุมชนในเอกสารฉบับนี้ เกิดจากจังหวัดโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกระบี่
ให้อำเภอคัดเลือกกองทุนแม่ของแผ่นดินที่มีองค์ความรู้ ที่สามารถเผยแพร่เป็นแบบอย่าง และมีการสร้างนวัตกรรมการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยกองทุนแม่ของแผ่นดินได้ หรือใช้วิธีการอย่างไรในการแก้ไขปัญหา ที่ทำให้หมู่บ้านประสบความสำเร็จ
และสามารถถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้แก่บุคคลทั่วไป สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเขาพนม มีภารกิจเตรียมการจัดค่ายเยาวชน TO Be
Number One มีเวลาน้อยมากที่จะร่วมกับพื้นที่ในการค้นหาประสบการณ์ที่ดีที่สุด เพื่อจัดทำ
“บทเรียนจากชุมชน” (Best Pracetice) จึงคิดว่าการใช้เทคนิค “เรื่องเล่า” (Story Technique) น่าจะเหมาะสมที่สุด และประยุกต์ใช้เทคนิค AT :
Appreciative Inquiry : การค้นหาคุณค่าด้วยความชื่นชม
ซึ่งเป็นเทคนิคที่ก่อให้เกิดพลังสร้างสรรค์ทางสังคม
เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเป็นพลังทวีคูณ โดยใช้เครื่องมือประเมินสถานการณ์ชนบทแบบมีส่วนร่วม หรือ Participatory Rural
Appraisal (PRA) เก็บบันทึกข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ จัดเวทีเสวนากลุ่ม และข้อมูลจากเอกสาร ผลงาน
รูปภาพ
ซึ่งมีรายละเอียดเครื่องมือ
วิธีการและขั้นตอน
รวมทั้งเทคนิควิธีการต่างๆ พอสรุปได้
ดังนี้
ถอดบทเรียนด้วยเทคนิค
“เรื่องเล่า” (Story Technique)
เรานักพัฒนามีความเชื่อว่าทุกคนมีศักดิ์ศรี มีความสามารถ
คนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ถ้ามีหรือให้โอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง แต่การที่จะเรียนรู้จากสิ่งที่คนอื่นเขาเล่ามา
มันไม่แน่เสมอไปว่าเราจะได้สิ่งที่เราต้องการมากน้อยแค่ไหนกับวันเวลาที่เสียไป คนเล่าเรื่องที่ดี ไม่ใช่แค่นักพูดหรือคนพูดเก่ง ไม่ใช่แค่คนที่รีบชิงเวทีการพูดก่อนคนอื่น ไม่ใช่แค่คนที่มีข้อมูลอยู่เต็ม ไม่ใช่คนที่ดีแต่พูดแต่ไม่เคยฟังคนอื่น ไม่จำเป็นต้องพูดคนเดียวแต่อาจใช้สื่อประกอบ
ฉะนั้นหากเราจะใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแล้วเก็บรวบรวมข้อมูลนำไปวิเคราะห์ แปรผล
เราน่าจะมารู้จักกับ “ การเล่าเรื่องอย่างเป็นระบบ” (ปาริชาติ
สถาปิตานนท์, 2545)
ว่าเราควรจะมีประเด็นอะไรที่จะนำไปเก็บรวบรวมเป็นข้อมูลได้บ้าง หรือเราจะหาประโยชน์จากเรื่องเล่าได้อย่างไร
คนเล่าเรื่องที่ดีต้อง
ก้าวแรก.......การมองปัญหา / ประเด็นพูดคุยต้องสำคัญและต้องทำความเข้าใจจริงๆ
เพ่งความสนใจไปยังสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง ระวัง
! อย่าใช้ศัพท์ทางการ ศัพท์วิชาการ
แต่ควรใช้คำที่เห็นภาพชัด
รู้สึก สัมผัสได้ร่วมกัน เลือกประเด็นพูดคุยได้แล้วให้ค้นหา
Ø บุคคลที่เกี่ยวข้อง
Ø ประเด็นที่สำคัญ
- 16 -
Ø ลำดับ เวลา
ก่อน หลัง
ทั้ง
3 เรื่องต้องเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
ตีกรอบหรือขอบเขตให้ชัดในการวิเคราะห์ด้านเนื้อหา เวลา
และการเชื่อมโยงอาจเริ่มจากกรอบเล็กขยายสู่กรอบใหญ่ภายหลัง
ก้าวที่สอง.......การเล่าเรื่อง การฟังเรื่องที่เล่า
Ø อย่ารีบเร่ง อย่าด่วนสรุป
เพราะแต่ละเรื่องซับซ้อน มีเหตุการณ์ ตัวละครเกี่ยวข้องมากมาย
Ø สร้างภาพจำลองในสมอง
เทคนิค ก.
1. ลองทำสถิติ (List) เหตุการณ์สำคัญๆ
-
ประเด็น
-
สถานการณ์แวดล้อม
-
บุคลที่เกี่ยวข้อง
-
วิธีคิด มุมมอง
2. เชื่อมโยง เวลา
ก่อน – หลัง สาเหตุ – ผลกระทบ
เทคนิค
ข.
1. การใช้ภาพประกอบ
2. ค้นหาประเด็นที่ต้องการ
ในกระบวนวิธีทั้งหมดนี้
นักพัฒนาที่จะทำการถอดบทเรียนจะต้องใช้เทคนิค “ปุจฉา – วิสัชนา”
ให้ผู้เล่าเรื่องได้มีจังหวะคิดจับประเด็นเล่า อันจะนำไปสู่สาระที่เวทีพูดคุยต้องการได้
การถอด การสกัดองค์ความรู้ชุมชน เรามักถามหาเครื่องมือ และ
วิธีการถอดความจริง
เครื่องมือที่สำคัญที่สุดคือตัวเราเอง
“นักพัฒนา”
โดยเฉพาะการถอดชุมความรู้ด้วยเทคนิคเรื่องเล่า หัวใจคือการฟัง การคิด
วิเคราะห์ การตั้งคำถาม การจดบันทึก
การสังเคราะห์
และการเขียนสรุป ประมวลผล
เทคนิค AI
กับบทเรียนชุมชน
บ่อยครั้งที่นักพัฒนา หรือผู้นำชุมชนกลับพูดว่า “ไม่อยากถอดบทเรียนเลย รู้ๆ อยู่ว่าเป็นอย่างไร ที่ดีก็มีอยู่มากมาย แต่ที่ไม่ดีก็มีปะปนอยู่ ไม่เอาหรอกขายหน้าเขา”
ทำให้คิดถึงปรัชญาอันเป็นมงคลชีวิตของท่านอาจารย์พุทธทาส ที่สอนให้เรา
“มองแต่แง่ดี” ซึ่งเป็นสิ่งย้ำเตือนสติอยู่ตลอดเวลาว่า “เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา จงเลือกเอาส่วนที่ดีเขามีอยู่ เป็นประโยชน์โลกบ้างยังน่าดู ส่วนที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย จะหาคนมีดีโดยส่วนเดียว อย่ามัวเที่ยวค้นหาสหายเอ๋ย เหมือนเที่ยวหาหนวดเต่าตายเปล่าเลย ฝึกให้เคยมองแต่ดีมีคุณจริง” ก็ทำให้ผู้เขียนและทีมงานนำเทคนิคที่ก่อให้เกิดพลังสร้างสรรค์ทางสังคมที่เรียกว่า Appreciative Inquiry : AI
มาประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างพลังที่มีอยู่ในชุมชน เติมพลังทางสังคมที่มองทางบวก คิดทางบวก
และกระทำทางบวก เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางบวก
ซึ่งหากชุมชนได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับพื้นฐานทางวัฒนธรรมก็จะก่อให้เกิดพลังสร้างสรรค์
นำพาสังคมออกจากวิกฤตการณ์ไปสู่อนาคตที่เจริญรุ่งเรืองได้ (ประเวศ วะสี , 2544)
กระบวนการ Appreciative Inquiry เป็นทฤษฎีสำนัก Social
Construction ซึ่งเชื่อว่าไม่มีใคร รู้ว่า
ความจริงคืออะไร
ความจริงเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
- 17
-
ตารางเปรียบเทียบกระบวนการค้นหาความจริง 2 วิธี
หากเราต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมให้เป็นบวกเราต้องมีพลังบวกเสียก่อน คล้ายกับกระบวนการทางพระพุทธศาสนาที่ให้เกียรติ ให้คุณค่ากับทุกคน ไม่ว่านักปราชญ์อย่างสารีบุตร หรือโจรอย่างองคุลีมาลย์
ชุดเครื่องมือประเมินสถานการณ์ชุมชน
ทุกครั้งที่ปฏิบัติการสนามมองเห็นบรรยากาศความเป็นพี่น้องร่วมทุกข์ ร่วมสุขด้วยกัน ความเชื่อใจ
ความไว้วางใจก็เกิดขึ้น
ข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการก็จะหลั่งมาอย่างไม่รู้ตัว ไม่รู้จัดหมด
ไม่รู้จักเบื่อ
บ่อยครั้งเลยเวลาทานอาหารเที่ยงปะปนด้วยเสียงหัวเราะอยู่เป็นระยะ ดังบ้าง
เบาบ้าง
ตามจังหวะลีลาก้าวย่าง
ในเวทีพูดคุยก็ด้วยชุดเครื่องมือประเมินสถานการณ์ชนบทแบบมีส่วนร่วม หรือ Participatory Rural
Appraisal : PRA (ขนิฎฐา
กาญจนรังสีนนท์ , 2547) ใช้มา 10
กว่าปีก็ยังไม่เบื่อและยังใช้ไม่หมด
แต่ทุกครั้งที่นำมาใช้เราจะได้งานมากกว่าที่คิดไว้ เพราะเครื่องมือชุดนี้เป็นทั้งแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์
แบบสังเกต และแบบติดตามประเมินผล ที่อยู่ในตัวของมันเอง
สิ่งสำคัญเราจะมีวิธีการนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมได้มากน้อยแค่ไหน อย่างไรเท่านั้น
เมื่อเรารู้จักเครื่องมือ เทคนิค
วิธีการ
แล้วเราต้องกำหนดวัตถุประสงค์การถอดบทเรียนหรือชุดความรู้ที่เราต้องการนั้นว่ามันคืออะไร
เมื่อฟังเรื่องราวจากการเล่าเรื่องแล้วเราได้อะไรบ้าง
เราเองอยากจะได้อะไรจากคนที่เราไปเรียนรู้บ้าง
ความรู้ใหม่จึงเกิดขึ้นจากการตั้งคำถามด้วยเทคนิค “ปุจฉา – วิสัชนา” ของเราเอง
และในบางครั้งคำตอบที่ได้อาจจะมากกว่าที่เราอยากรู้ อยากเห็น
อยู่ที่ว่าเราจะเก็บข้อมูลเหล่านั่นได้อย่างไรให้สมบูรณ์มากที่สุด เพราะสมาชิกในชุมชนไม่ใช่คนของเรา วิถีชีวิตและตัวตนเป็นของชุมชนเขาเอง
การถอดบทเรียนจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งปัญหาและความสำเร็จ เราใช้เรื่องเล่าภายใต้ความภาคภูมิใจ ความสำเร็จ
ความสุขมีพลังในตัวเอง
มีเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง
จากการปฏิบัติบทเรียนที่ดีที่สุดคือบทเรียนที่ทำการถอดเมื่อโครงการหรือกิจกรรมที่ทำนั้นแล้วเสร็จใหม่ๆ จะทำให้มีความสด มีอารมณ์ความรู้สึกที่ยังคงค้างอยู่จะทำให้ชุดความรู้ที่ได้สมบูรณ์
การเรียนรู้ด้วยเทคนิคเรื่องเล่าต้องใช้ความละเอียดลงลึกในบางประเด็น ให้ความสำคัญกับทุกคำพูดซึ่งมีความหมายในตัวในระหว่างเก็บข้อมูล ให้ความสำคัญกับการพูดคุย การแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
หากเห็นว่าการแลกเปลี่ยนนั้นเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการเก็บข้อมูล การเล่า
การฟัง
สามารถยกระดับการพัฒนาการทำงานได้เป็นอย่างดี
- 18
-
ขั้นตอนการถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้
Ø ขั้นตอนเตรียมการก่อนปฏิบัติการ
1. เตรียมทีมงาน 2 – 3
คน หาคนมีทักษะ สนใจ
อยากรู้ อยากทำ แบ่งบทบาทหน้าที่ คุณอำนวยในทีม
เดินเรื่อง พูดคุย คนจดบันทึกจับประเด็น ซึ่งต้องมีการประสานสัมพันธ์กัน เข้าใจงานซึ่งกันและกัน
2. เตรียมอุปกรณ์สื่อ เทคนิค
กล้องถ่ายรูป อื่นๆ
ตามประเด็นที่ต้องการศึกษา
3. เตรียมกรอบเน้อหา/ประเด็น
ศึกษาเนื้อหา ศึกษาพื้นที่ ศึกษาโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
4. เตรียมกรอบ แนวทางขั้นตอนการศึกษาและกรอบคำถาม เตรียมประเด็นพูดคุยตามแบบสัมภาษณ์ หรือประเด็นพูดคุยตามประเด็นในแต่ละเครื่องมือ PRA ที่จะใช้พูดคุยเก็บข้อมูลจากเวทีหรือกลุ่มย่อยหรือจากบุคคล
5.
เตรียมกลุ่มเป้าหมายที่จะพูดคุย
ต้องกำหนดว่าจะคุยกับใครบ้าง
กลุ่มไหนบ้าง ใครผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือใครคือภาคีที่ร่วมการพัฒนา เตรียมประสานไว้ล่วงหน้าจะดียิ่งขึ้น
6. นัดหมายวัน เวลา
และสถานที่
โดยเอาชุมชนเป็นศูนย์การเรียนรู้ร่วมกัน
Ø ขั้นปฏิบัติการถอดบทเรียน
/ ชุดความรู้
1. การเริ่มต้นต่อหน้าผู้ที่ปฏิบัติจริง
- แนะนำตัว แนะนำวัตถุประสงค์ความเป็นมา การพูดคุยในลักษณะรวมหัวคิด เริ่มใช้เทคนิคลีลาตามจังหวะ เมื่อเวทีไว้วางใจเดินตามไปด้วยกัน
2. เปิดประเด็นคำถาม “ผู้รู้เล่า
ผู้ศึกษาฟัง ผู้ศึกษาถาม ผู้รู้เล่า”
ผู้จดบันทึกตามรูปแบบหรือเทคนิคที่จะใช้
สังเกตบรรยากาศ เนื้อหาสาระ
3.
เจาะลึกในข้อมูลเชิงปริมาณ
เราอาจนำข้อมูลจากเอกสารมาช่วยด้วย
เพื่อความถูกต้องและสมบูรณ์ของข้อมูล
4. เก็บตก ใครอยากเล่าเรื่องอะไร คุยเรื่องใดต่อ ให้เวทีขับเคลื่อนเพิ่มเติม เก็บรูปภาพเป็นระยะ ให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่ต้องการ หรือเก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากเวทีพูดคุย
Ø ขั้นประมวลสรุปข้อมูล
ทีมงานนำข้อมูลหรือสิ่งที่ได้มาจากชุมชน รวบรวม
ทบทวนความถูกต้องสมบูรณ์
ตรวจสอบ ปรับปรุงข้อมูล เทียบเคียงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากเอกสาร แบบสัมภาษณ์
หรือข้อมูลจากเวทีพูดคุย
สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน
การทำอยู่คนเดียวจะเป็นจุดอ่อนของทีม
เพราะการถอดบทเรียน
ในทีมทุกคนมีความสำคัญเท่ากัน
ต้องสรุปร่วมกัน เมื่อขาดจะได้รับรู้และเติมเต็มร่วมกัน
Ø ขั้นวิเคราะห์ สังเคราะห์
สรุปความ
การอธิบายตีความองค์ความรู้
อะไรที่เกิดขึ้น
เกิดขึ้นได้อย่างไร
เบื้องหลังความเป็นมา
การแก้ไขปัญหาอุปสรรค
วิธีคิดและรูปแบบความเคลื่อนไหว
สภาพแวดล้อมต่างๆ
ต้องอธิบายเชื่อมโยงเพื่อสร้างความสมบูรณ์
และสร้างคุณค่าให้กับบทเรียนที่ได้ทำการศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน
Ø ขั้นเขียนรายงาน
การนำเสนอสะท้อนให้มองเห็นความสำคัญขององค์ความรู้ที่ได้ว่าส่งผลดีต่อตัวนักพัฒนาเอง องค์กร
หรือต่อชุมชนโดยภาพรวมอย่างไร
อธิบายเชื่อมโยงให้เห็น
บรรณานุกรม
กรมการพัฒนาชุมชน.
2555. กองทุนแม่ของแผ่นดิน. กลุ่มงานนโยบายและยุทธศาสตร์ กองแผนงาน.
ขนิฎฐา กาญจนรังสีนนท์. 2547. เครื่องมือส่งเสริมการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาชุมชน.
พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: หจก.บางกอกบล็อก.
คณะกรรมการจัดทำระบบมาตรฐานงานพัฒนาผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชนและ ชุมชน. ม.ป.ป. แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลุ่ม/องค์กรชุมชน ด้วยระบบมาตรฐานงาน ชุมชน. ม.ป.ท.
ชัยวัฒน์ ถิรพันธุ์. 2543. หลักสูตร Appreciative Inquiry. ตรัง.
โรงแรม เอ็ม.พี.รีสอร์ท, 21 – 23 ตุลาคม.
ชัยวัฒน์ ถิรพันธุ์. 2545. การประชุมเชิงปฏิบัติการ Train The
Trainer “วิธีคิดกระบวนระบบชั้นสูง”. System Thinking. ตรัง.
โรงแรมตรังพลาซ่า, 21 – 24 กุมภาพันธ์.
ประเวศ วะสี. 2544. คำปรารภในทฤษฎีไร้ระเบียบ (Chaos Theory) กับทางแพร่งของสังคมสยาม. ชัยวัฒน์
ถิรพันธุ์. หน้า 4 – 5 พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร.
สถาบันเรียนรู้และพัฒนาประชา สังคม.
ปาริชาติ สถาปิตานนท์. 2545. การเล่าเรื่องอย่างเป็นระบบ.
ในเอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการ Train The trainer
“วิธีคิดกระบวนระบบชั้นสูง”. System Thinking, หน้า 53 – 55. มูลนิธิพัฒนาไท . สถาบันเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม.
พระธรรมปิฎก
(ประยุทธ์ ปยุตฺโต). 2542. วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม.
พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยาม.
วิจารณ์ พานิช. 2549. การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ สุขภาพใจ.
วีระ นิลไตรรัตน์. 2549. คู่มือถอดความรู้โครงการย่อย.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร. มูลนิธิ สาธารณสุขแห่งชาติ.
ศุภวัลย์ พลายน้อย. 2547. นานาวิธีวิทยาการถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้
. ในเอกสารการ ประชุมการพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง
“การถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้”, หน้า 1 – 5. คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช. 2555. รายงานการวิจัยโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วน ร่วมเพื่อสร้างวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านบางนุ้ย “เติมพลังความฝัน: สร้างสรรค์พัฒนา ชุมชนวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง”.
นครศรีธรรมราช.
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเขาพนม.
2556. สรุปผลการจัดการข้อมูลคุณภาพชีวิตของครัวเรือน (จปฐ.2) ปี 2556 ระดับหมู่บ้าน. ตำบลสินปุน. หมู่ที่
6. บ้านบางนุ้ย .
Robert Heller. 2546. การกระตุ้นคนเพื่อชัยชนะ. แปลโดย อรยา
เอื่อมชื่น. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์ จำกัด.