วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556





กองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านทุ่งประสาน
หมู่ที่ ๒ ตำบลทุ่งประสาน อำเภอเหนือคลอง 
จังหวัดกระบี่

๑.การก่อเกิด
จากพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน บ้านทุ่งประสาน หมู่ที่ ๒ ตำบลปกาสัย อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ได้เล็งเห็นว่า ปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน มีมากมายมหาศาล จึงมีความประสงค์ที่จะเผยแพร่ความรู้ด้านยาเสพติดแก่กลุ่มบุคคลภายในหมู่บ้าน จึงได้รวบรวมและตั้งเงินกองทุนไว้สำหรับแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยการรับบริจาค จากกลุ่ม / บุคคล/องค์กร ผู้มีจิตศรัทธา  เพื่อให้กลุ่ม / บุคคลที่มีความประสงค์จะประกอบกรรมดี ได้มีส่วนร่วม และจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกองทุนที่ดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดและปัญหาอื่น ๆ โดยยึดหลักการมีส่วนร่วม การให้อภัย การสร้างสมานฉันท์ของคนในชุมชน  การเอาชนะปัญหาต่าง ๆ ตามแนวทางที่สันติ การสร้างพลังแห่งความดี จะทำให้สังคมและชุมชน เป็นสังคมแห่งคุณธรรมอย่างแท้จริง 
การดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน
 - จัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน
 - จัดประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน  พร้อมราษฎรเป็นประจำทุกเดือน

 - จัดกิจกรรมประจำปี หาทุนสมทบเข้ากองทุนแม่ของแผ่นดิน


- ขยายพลังแห่งความดีของคนในชุมชน / หมู่บ้าน ให้กว้างขวางขึ้น
-เสริมสร้างขบวนการในชุมชน ทั้งด้านความคิด ความรู้ การแลกเปลี่ยน การรวมกลุ่ม และความตื่นตัว  เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาของชุมชน/หมู่บ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหายาเสพติด เพื่อให้ชุมชน ใช้กระบวนการดังกล่าวบรรลุถึงความเข้มแข็งที่แท้จริง       
- สนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ สนับสนุนให้คนทำความดี  และเสียสละเพื่อชุมชน / หมู่บ้าน
-สนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียง เพื่อการพัฒนาตนเอง และพึ่งพากันเองอย่างยั่งยืน  ทำให้ปัญหาพื้นฐานของชุมชนลดลง
-สนับสนุนกิจกรรมแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนอย่างยั่งยืน และพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้  ชุมชนเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนทั้งภายใน  และระหว่างหมู่บ้าน



๒. บทเรียนการดำเนินงานที่สำคัญของกองทุนแม่ของแผ่นดิน

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน

๑.  ขยายพลังแห่งความดี  ของคนในชุมชน / หมู่บ้าน ให้กว้างขวางขึ้น
๒.  เสริมสร้างขบวนการในชุมชน ทั้งด้านความคิด ความรู้ การแลกเปลี่ยน การรวมกลุ่ม และ ความ
    ตื่นตัว เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาของชุมชน / หมู่บ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหายาเสพติด เพื่อใช้ชุมชน
    ใช้กระบวนการดังกล่าวบรรลุถึงความเข้มแข็งที่แท้จริง
๓.  สนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ สนับสนุนให้คนทำความดี และเสียสละเพื่อชุมชน /
    หมู่บ้าน
๔. สนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียง เพื่อการพัฒนาตนเอง  และพึ่งพากันเองอย่าง
    ยั่งยืน ทำให้ปัญหาพื้นฐานของชุมชนลดลง
๕.  สนับสนุนกิจกรรมแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนอย่างยั่งยืน และพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้
     ชุมชนเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนทั้งภายใน  และระหว่างหมู่บ้าน

การบริหารจัดการ
กองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านทุ่งประสาน
  ๑.มีคณะกรรมการ จำนวน ๑๓ คน และมีวาระการดำรงตำแหน่ง ๒ ปี และให้มีการ เลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการใหม่เมื่อครบวาระ
  ๒.มีระเบียบการบริหารจัดการกองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านทุ่งประสานซึ่งประกาศให้ประชาชนรับทราบ เป็นแนวทางการดำเนินงาน และให้ถือปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่หมู่บ้าน / ชุมชน เมื่อวันที่ ๖ เดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘  
 ๓.มีกิจกรรมการประชุมคณะกรรมการและประชุมครัวเรือนที่เป็นสมาชิกกองทุนแม่ของแผ่นดินเพื่อติดตามการดำเนินงาน และแจ้งผลการดำเนินงานให้รับทราบ
 ๔.มีสมาชิกกองทุนแม่ของแผ่นดิน จำนวน ๑๘๒ ครัวเรือน
 ๕.จัดกิจกรรมและรณรงค์ส่งเสริมการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยการเฝ้าระวังและการแข่งขันกีฬาระหว่างคุ้มบ้านเป็นประจำทุกปี
 
แนวทางการดำเนินงาน
- การดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
                        - ใช้ทุนแห่งศรัทธาและปัญญา จัดกิจกรรมสมทบกองทุน
                อย่างต่อเนื่อง
                        - ทุนสมทบจากองค์กรปกครองท้องถิ่น ส่วนราชการ 
                และภาคเอกชน
                        - ประชาชนร่วมสมทบเงินกองทุนอย่างไม่มีวันหมด

             ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑.ทำความเจริญก้าวหน้าสู่หมู่บ้าน - ชุมชน
๒.สร้างความเข้มแข็งในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
๓.เกิดการร่วมแรงร่วมใจอย่างแท้จริงในหมู่บ้าน - ชุมชน
๔.เกิดการแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง
๕.สามารถแก้ปัญหายาเสพติดได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
๖.เป็นศูนย์เรียนรู้ตั้งแต่ระดับตำบลถึงระดับจังหวัด
๗.เป็นกองทุนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
๘.สร้างเครือข่ายในระดับตำบลถึงระดับจังหวัด

กรอบแนวทางการแก้ปัญหา

                       ๑. แก้ปัญหายาเสพติด
                                - ใช้ในการฝึกอบรมแกนนำสู่ความเข้มแข็ง
                                - ใช้ในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
                                - ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการเดินเวรยามภายในหมู่บ้าน
            ๒. แก้ปัญหาสังคม
                - ส่งเสริมด้านการอบรมวัฒนธรรมประเพณี
            ๓. การส่งเสริมอาชีพ
            ๔. แก้ปัญหาผู้ด้อยโอกาส
            ๕. แก้ปัญหาคนพิการที่มีความเดือดร้อน
            ๖. ส่งเสริมทุนการศึกษาเด็กเรียนดีแต่ยากจน
            ๗.ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
            ๘.แก้ปัญหาผู้สูงอายุ
            ๙. และปัญหาอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรช่วยเหลือ
           ๑๐.  หมายเหตุ
  ห้ามการกู้ยืมทุกกรณีอย่างเด็ดขาด







วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556




กองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านคลองไคร
หมู่ที่ ๑๐ ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่

๑. การก่อเกิด
        หลังจากการตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมกระบวนการชุมชนเข้มแข็งป้องกันยาเสพติด บ้านคลองไครได้ปรับแนวทางแก้ไขปัญหายาเสพติดมาเป็นแบบ บูรณาการหมายความว่าในอดีตที่หมู่บ้านต้องดำเนินกิจกรรมตามการสั่งการของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ซึ่งเดิมเป็นไปในลักษณะต่างหน่วยงานเข้ามาดำเนินการตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย โดยไม่ประสานงานกัน ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นการทำงานร่วมกับทีมงาน ซึ่งประกอบด้วยหลายหน่วยงานที่เรียกว่า วิทยากรกระบวนการเข้ามาทำงานใกล้ชิด เพื่อคุ้มครอง ส่งเสริม และเป็นกำลังใจให้คณะกรรมการสามารถดำเนินงานได้อย่างปลอดภัย ใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการดำเนินงาน ชาวบ้านเป็นหลักในการแก้ไขปัญหาในชุมชน ภาคราชการปรับบทบาทจากผู้ดำเนินงาน มาเป็นเพียงผู้คอยให้การสนับสนุน โดยมีเป้าหมายที่การพัฒนาความสามารถประชาชนในการพึ่งพาตนเองและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างยั่งยืน 
        เมื่อตัวแทนภาครัฐในนาม วิทยากรกระบวนการเข้ามาทำความเข้าใจกับชาวบ้านและกระตุ้นสนับสนุนชุมชน โดยมุ่งเน้นประเด็นความห่วงใยอนาคตเยาวชนลูกหลานเป็นมูลเหตุจูงใจ ในขณะเดียวกันชาวบ้านเองก็มีความรู้สึกมั่นใจว่าโครงการนี้จะสามารถดำเนินไปได้ เพราะจากนับจากขั้นแรกที่มีการชี้แจงว่าชาวบ้านจะช่วยเหลือและดูแลกันเอง ไม่มีการส่งรายชื่อผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดไปให้กับทางราชการ เมื่อถึงขั้นตอนการระบุรายชื่อผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด จะเก็บรายชื่อไว้เป็นความลับโดยจะจุดไฟเผาทิ้ง ไม่มีการส่งรายชื่อให้ใคร แต่จะมีคนในหมู่บ้านเป็นคนเก็บรายชื่อไว้โดยเลือกคนที่ชาวบ้านไว้ใจมากที่สุดที่เป็นหนึ่งในคณะกรรมการคนชุมชนเข้มแข็งด้วยกัน จากตรงนี้ชาวบ้านจึงเกิดความมั่นใจว่าจะไม่มีการส่งรายชื่อให้ภาครัฐ “...เพราะในที่ประชุม คนที่เขียนมาก็เป็นพ่อแม่พี่น้องกัน ไม่ใช่ใครอื่น ก็อยากให้ลูกหลานปลอดภัย ไม่อยากให้ทางตำรวจเข้ามายุ่ง เราดูแลตัวเราเอง...
        ทั้งผู้นำชุมชนและชาวบ้านมองว่าวิธีแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ผ่านมาไม่ได้ผลเท่าที่ควร จึงเห็นดีด้วยกับวิธีการใหม่ของทีมวิทยากรกระบวนการ ผู้นำทางการร่วมกับผู้นำธรรมชาติบ้านคลองไครจึงพยายามชักชวนชาวบ้านหลากหลายกลุ่ม ทั้งชาวบ้านฐานะยากจนและกลุ่มคนฐานะดีในหมู่บ้าน ที่เห็นความสำคัญของปัญหายาเสพติด และเห็นร่วมกันว่าจำเป็นต้องสร้างแนวร่วมชาวบ้านทุกคนเพื่อแสวงหาทางออกด้วยกัน โดยมาร่วมมือกันเป็นคณะกรรมการชุมชนเข้มแข็ง มาร่วมมือกันเป็นพลังของชุมชนเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาที่ประชาชนเดือดร้อนโดยไม่ถูกครอบงำจากภาครัฐ ทั้งยังมีการรวมกลุ่มเยาวชนเพื่อช่วยกันสร้างภูมิคุ้มภัยยาเสพติด บ้านคลองไครเริ่มดำเนินการสร้างชุมชนเข้มแข็งด้วยการปรับเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนวิธีการ ยกระดับการแก้ไขปัญหาด้วยกระบวนการประชาคมหมู่บ้าน อาศัยพลังชุมชนดูแลชุมชนของตนเอง

๒. วิธีการที่ทำให้หมู่บ้านประสบความสำเร็จ 
        ๒.๑) โดยทีมอาสาสมัครวิทยากรกระบวนการร่วมกับผู้นำชุมชนบ้านคลองไครเข้าสืบสภาพชุมชน พร้อมกับรวบรวมข้อมูลสำคัญของชุมชนอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างอาสาสมัครวิทยากรกระบวนการกับชาวบ้านคลองไคร มีการเปิดเวทีย่อยเพื่อเผยแพร่แนวคิดที่ว่า มาตรการปราบปรามเพียงลำพังไม่สามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนได้ จำเป็นต้องอาศัยความสามัคคีจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เพื่อดูแลชุมชนของตนเองการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืนนั้นชาวบ้านต้องร่วมมือกัน จะหวังพึ่งพาอาศัยเฉพาะข้าราชการและคณะกรรมการหมู่บ้านคงไม่ได้ และพยายามสร้างความเข้าใจร่วมกันว่า มาตรการปราบปรามของเจ้าหน้าที่เพียงลำพังไม่สามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดได้ เพราะปัญหายาเสพติดเป็น
เรื่องที่เชื่อมโยงกับปัญหาอื่นๆ ของชุมชน ด้วยการแก้ไขปัญหาของราชการที่มักจะเป็นไปในลักษณะเมื่อเสร็จกิจกรรมก็พากันยกกำลังกลับ ปัญหาจึงมักจะไม่ได้รับการแก้ไข วนเวียนอยู่ในชุมชนมาโดยตลอด ชาวบ้านจึงต้องเลิกคิดว่าปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่อง ธุระไม่ใช่หรือ ชาวบ้านทำเองไม่ได้โดยให้ตระหนักว่าปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาส่วนรวมของคนทั้งชุมชนที่ต้องลุกขึ้นมาร่วมแรงร่วมใจกันแก้ไขปัญหา
        ๒.๒) ทีมวิทยากรกระบวนการเข้ามาพบผู้นำชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและความไว้วางใจในแนวทางกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง ๑๐ ขั้นตอน โดยเฉพาะการเน้นบทบาทของผู้นำธรรมชาติ โดยไม่ได้มองข้ามความสำคัญของผู้นำทางการ ซึ่งจะต้องทำงานประสานสอดคล้องกัน เพราะในขณะที่ผู้นำทางการเหมาะสมที่จะเป็นผู้ประสานที่ดีระหว่างชุมชนกับหน่วยงานราชการ ผู้นำธรรมชาติซึ่งมาจากศรัทธาของชาวบ้านจะสามารถสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนอย่างแท้จริง จึงเหมาะสมที่จะเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งผู้นำชุมชนต่างเห็นด้วยกับแนวคิดและแนวทางนี้
        ๒.๓) เปิดเวทีประชาคมทำความเข้าใจประชาชนในชุมชน เพื่อชี้ชัดให้เห็นว่าทุกข์ของชุมชนนั้นเกิดจากปัญหาหลากหลายเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะปัญหายาเสพติดที่มีสถานการณ์แนวโน้มรุนแรงขึ้นทุกวัน และกลายเป็นตัวเร่งให้ปัญหาอื่นๆ ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น  มีการปลุกเร้าเวทีประชุมว่า ถ้าปล่อยเป็นแบบนี้ต่อไปทุกคนจะตกอยู่ในสภาพที่อันตรายตลอดเวลา เยาวชนจะเติบโตขึ้นมาในสภาพแวดล้อมไม่ดี และคงหนีไม่พ้นวงจรปัญหายาเสพติด ชาวบ้านทั่วไปก็ตกอยู่สภาพเสี่ยงภัยที่เกิดจากพฤติกรรมของผู้เสพและผู้ค้า แต่สาระสำคัญที่วิทยากรกระบวนการพยายามเน้นย้ำ คือชุมชนควรดูแลจัดการปัญหายาเสพติดด้วยตัวเองเป็นหลัก ให้เปลี่ยนวิธีจากที่เคยใช้การดำเนินงานเชิงลับ รายงานให้ทางการเข้ามาจับกุม โดยให้เลิกส่งรายชื่อผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้เจ้าหน้าที่ หันมาใช้การจัดประชุมชุมชนอย่างเปิดเผย เข้าไปพูดคุยแบบเปิดอกกับผู้ค้า ผู้เสพ แนะนำและช่วยเหลือกันและกัน ผู้ค้าก็ขอร้องให้เลิก ผู้เสพก็ให้เข้ารับการบำบัดรักษา และด้วยความคิดที่ว่าผู้นำทางการมีบทบาทหน้าที่รองรับการทำงานกลไกภาครัฐอยู่แล้ว แต่อาจจะมีข้อจำกัดในการทำงานบางอย่าง ดังนั้นจึงน่าจะมีกลไกที่ไม่ใช่ระบบราชการ แต่มีความคล่องตัวในการจัดการปัญหาต่างๆ อย่างเหมาะสมกับสภาวการณ์และสอดคล้องกับวิถีชีวิต/วิถีวัฒนธรรมของชุมชน จึงเสนอให้มีการคัดเลือกผู้นำธรรมชาติจากความศรัทธาของชาวบ้านมาร่วมเป็น คณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนบ้านคลองไครใต้
        ๒.๔) การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการชุมชนเข้มแข็งได้ทำความเข้าใจกับชาวบ้านคลองไครถึงการดำเนินการตามแนวทางชุมชนเข้มแข็ง ๑๐ ขั้นตอนว่า เป็นการใช้หลักสันติวิธีกับวิถีวัฒนธรรมชุมชนแก้ไขผู้มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องยาเสพติดอย่างค่อยเป็นค่อยไป ให้อภัย ให้โอกาสและบรรยากาศแบบเป็นกันเอง ใช้หมู่บ้านเป็นโรงพยาบาล ใช้กรรมการเป็นหมอ ใช้บ้านของผู้เสพเป็นเตียงผู้ป่วย ไม่กดดัน บีบคั้น เร่งรัด ไม่แบ่งฝ่ายคนดีคนเลว ไม่ให้องค์กรภายนอกชุมชนรู้ชื่อว่ามีใครเสพใครค้า ให้รู้แต่เพียงตัวเลขเท่านั้น จะทำการคัดแยกเพื่อช่วยเหลือไม่ใช่เพื่อลงโทษ ถือว่าผู้เสพเป็นผู้ป่วยที่ต้องเห็นใจช่วยเหลือ ผู้ค้ารายย่อยที่เสพด้วยก็ถือว่าเขาหาเงินไปซื้อยามาใช้เอง ไม่เป็นโทษรุนแรง แต่ถ้าขายเพราะโลภต้องมีโทษรุนแรง หากยังดื้อดึงไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหากับชุมชน ก็ใช้มติของชุมชนส่งชื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาจัดการตามกฎหมาย ซึ่งมีเพียงส่วนน้อยที่ถือว่าเกินกำลังของชุมชน มีการสร้างเครือข่ายรณรงค์ประชาสัมพันธ์และเฝ้าระวังยาเสพติดครอบคลุมครัวเรือนที่สมัครใจ คือกรรมการ ๑ คน รับผิดชอบดูแลเครือข่ายของตน ๓ -๔ ครัวเรือน ซึ่งเลือกเอาเองตามความเหมาะสมว่ากรรมการคนไหนสามารถพูดคุยทำความเข้าใจกับบ้านหลังใดได้บ้าง ให้ไปหามาว่าจะดูแลคุ้มครองบ้านหลังไหน แต่ห้ามซ้ำกัน แล้วนำรายชื่อนี้ให้กับเลาขากับประธาน ซึ่งไม่จำเป็นว่าบ้านจะต้องใกล้กันให้กระจายกันออกไป
        ๒.๕) คัดแยกผู้มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เมื่อคณะกรรมการชุมชนเข้มแข้งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ว่าการแก้ไขปัญหายาเสพติดแนวทางใหม่ของชุมชนบ้านคลองไคร มาถึงขั้นตอนการคัดแยกผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด วิธีการคือ กรรมการแต่ละคนจะต้องเขียนรายชื่อผู้มีพฤติกรรมเข้าข่ายเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเท่าที่รู้มา โดยคณะกรรมการ จะต้องพิจารณาสมาชิกให้ครอบคลุมทุกครัวเรือน แล้วเขียนรายชื่อระบุว่าใครอยู่ในข่ายสงสัย เสพ หรือค้า ให้ใส่ข้อมูลไปว่าบ้านไหน ชื่ออะไร รู้จักพ่อแม่เขาไหม โดยกรรมการทุกคนห้ามส่งกระดาษเปล่า เพื่อแสดงออกถึงการมีส่วนร่วม ถือว่าเป็นการเข้าร่วมทำความดีกับชุมชน แล้วหย่อนกระดาษที่เขียนลงกล่องกระดาษที่เตรียมไว้ จากนั้นคณะกรรมการจะนำรายชื่อทั้งหมดมาพิจารณาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลก่อนจะจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดเข้าแฟ้มเก็บไว้เป็นข้อมูลของชุมชน ไม่ให้บุคคลภายนอกรับรู้
        ๒.๖) การรับรองครัวเรือนปลอดยาเสพติด เมื่อคัดแยกผู้มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในเวทีประชาคมแล้ว คณะกรรมการชุมชนเข้มแข็งก็ทำการรับรองครัวเรือนปลอดยาเสพติด โดยใช้วิธีอ่านรายชื่อสมาชิกของแต่ละครัวเรือน หากครัวเรือนใดไม่ได้รับเสียงรับรองแบบเอกฉันท์จากคณะกรรมการ ก็ให้นำรายชื่อผู้เกี่ยวข้องหรือต้องสงสัยในครัวเรือนนั้นไปปรับเพิ่มในบัญชีผู้มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด แต่ไม่ได้หมายความว่าครัวเรือนนั้นเป็นคนไม่ดีเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ซึ่งจะต้องมีการติดตามดูแลเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจ เพื่อการรับรองในรอบต่อไปหรือเพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป
        ๒.๗) คณะกรรมการชุมชนเข้มแข็ง ทำการปลุกกระแสและสร้างขวัญกำลังใจให้ครอบครัวปลอดยาเสพติดและถือเป็นการยอมรับยกย่องครัวเรือนเหล่านั้น โดยมีแผนจะเชิญบุคคลสำคัญและผู้มีเกียรติมาร่วมเป็นสักขีพยานในการแจกธงสัญลักษณ์ปลอดยาเสพติดให้นำไปติดไว้หน้าบ้าน ให้เห็นเด่นชัด แต่ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าหากครัวเรือนใดเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดก็จะถูกถอดถอนสภาพครัวเรือนปลอดยาเสพติด แล้วต้องเข้าสู่กระบวนการรับรองครัวเรือนอีกครั้งจึงจะสามารถกลับมารับธงปลอดยาเสพติดได้อีก

๓. นวัตกรรมการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติด
       การจัดค่ายพัฒนาแกนนำเยาวชนและสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE สู่ความเป็นหนึ่ง (TO BE NUMBER ONE CAMP FOR LEADERS AND MEMBERS)

              วัตถุประสงค์
  เพื่อให้แกนนำเยาวชน (ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน) และสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE ในชุมชน
·  ได้รับการฝึกและพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำทั้งด้านบริหารและบริการ
·  สามารถให้ความช่วยเหลือดูแลเพื่อนสมาชิกในด้านให้คำปรึกษาและแก้ปัญหา
·  สามารถจัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อการพัฒนา EQ ให้กับเพื่อนสมาชิก
·  สามารถจัดกิจกรรมสร้างสุขให้สอดคล้องกับความต้องการของเพื่อนสมาชิก
· สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีและถ่ายทอดค่านิยมความเป็นหนึ่ง (Somebody) โดยไมต้องพึ่งยาเสพติดให้แก่เพื่อนสมาชิก
· สามารถสร้างและขยายเครือข่ายแกนนำเยาวชนและสมาชิกชมรมจากรุ่นสู่รุ่นโดยการเรียนรู้จากการทำงานร่วมกัน
ขั้นตอน/กิจกรรมการดำเนินงาน
                     ๑. ดำเนินการจัดตั้งชมรม TO BE NUMBER ONE ในชุมชน 1 ชมรม โดยการเปิดรับสมัครจากทุกหมู่บ้าน
              ๒.เทศบาลตำบลคลองพนพัฒนา ร่วมกับคณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดินตำบลคลองพนสนับสนุนในกระบวนการจัดค่ายพัฒนาแกนนำเยาวชนและสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE สู่ความเป็นหนึ่ง (TO BE NUMBER ONE CAMP FOR LEADERS AND MEMBERS)  

                  ๓.สมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE ในชุมชน (ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน)   เข้าร่วมโครงการจัดค่ายฯ ๑ รุ่นๆละ ๓ วัน (๒ คืน ๓ วัน) 









กองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านปากคลอง 
หมู่ที่ ๓ ตำบลเกาะกลาง อำเภอเกาะลันตา  จังหวัดกระบี่

ประวัติและความเป็นมา
                     
บ้านปากคลอง หมู่ที่ ๓ ตำบลเกาะกลาง อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ในอดีตจนถึงปัจจุบันไม่เคยมีปัญหาในเรื่องของยาเสพติดไม่ว่าจะเป็นผู้เสพ หรือผู้ค้า ที่อยู่ในหมู่บ้าน ชาวบ้านรู้จักการวางแผนการป้องกันปัญหาเรื่องยาเสพติดได้เป็นอย่างดี ในการทำดีของหมู่บ้าน จึงส่งผลให้อำเภอเกาะลันตา เห็นสมควรที่จะประกาศให้ บ้านปากคลอง เป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติดที่ยั่งยืน เพื่อตอบสนองความดีต่อไป
                ได้รับการพิจารณาให้เข้ารับพระราชทานเงินขวัญถุงกองทุนแม่ของแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๔๘ โดยมี ผู้ใหญ่ปรีชา รักจิตต์  เป็นประธาน    คณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน
                  อีกทั้งยังมีโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าทุ่งทะเลอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ  จัดตั้งขึ้นในพื้นที่  เพื่อสนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ให้อนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าชายเลน ให้มีการ ศึกษาวิจัย ทดลองและขยายพันธุ์สัตว์น้ำทะเล ที่คาดว่าจะเป็นสัตว์น้ำทะเลเศรษฐกิจที่ดีในอนาคต จะได้นำไปส่งเสริมเป็นอาชีพของราษฎร และเพื่อยกระดับรายได้ของประชาชนในพื้นที่ป่าทุ่งทะเลให้พออยู่พอกิน สามารถ พึ่งตนเองได้ โดยเน้นการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ พัฒนา  เพื่อสนองพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถยังความซาบซึ้งให้กับชาวบ้านปากคลอง เป็นล้นพ้น




วิธีการจัดตั้งกองทุนแม่ของแผ่นดิน
              ๑.จัดเวทีประชุมชาวบ้าน เพื่อทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของกองทุนแม่ของแผ่นดิ
              ๒.คัดเลือกคณะกรรมการกองทุนฯ  และคณะกรรมการที่ปรึกษา
              ๓.รับสมัครสมาชิก  โดยชาวบ้านทั้งหมดที่อยู่ในหมู่บ้าน  พร้อมมติประชุมการดำเนินงานจากชาวบ้าน 
                 เป็นส่วนใหญ่
             ๔.จัดทำระเบียบข้อบังคับการใช้จ่ายเงินกองทุนแม่ของแผ่นดิน
             ๕.เชิญหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ทุกส่วนราชการ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดตั้งกองทุนแม่ของแผ่นดิน
                การดำเนินกิจกรรม และเป็นที่ปรึกษา
             ๖.ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากเงินกองทุนอื่นๆในหมู่บ้าน  เข้ามาร่วมสมทบกับกองทุนแม่ของ
                แผ่นดิน

กระบวนการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านปากคลอง
๑.สร้างความเข้าใจแก่ทุกครัวเรือนจัดเวทีประชุมชาวบ้าน เพื่อทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของกองทุนแม่ของแผ่นดิน
๒.การจัดเวทีการประชุมจะเน้นการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน    เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวบ้านแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ  ของการบริหารกองทุน ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ทุกประการ กระบวนการทั้งหมดได้ผ่านการลงมติที่ยอมรับจากชาวบ้าน
๓.ชาวบ้านคัดเลือกคณะกรรมการกองทุนฯ  พร้อมจัดทำระเบียบข้อบังคับใช้ของกองทุนแม่ของแผ่นดินในหมู่บ้าน  ซึ่งทุกคนพร้อมที่จะพัฒนากองทุนแม่ของแผ่นดิน  
๔.แสวงหาเงินทุนเพิ่มเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรม เชิญชวนชาวบ้านร่วมบริจาคสมทบทุน  และเจ้าหน้าที่ส่วนราชการต่างๆที่อยู่ในหมู่บ้าน  จัดกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญ  และงานประจำปีของหมู่บ้าน
๕.เงินกองทุนต่างๆในหมู่บ้านที่ตั้งไว้เป็นเงินส่วนของสาธารณะประโยชน์ นำเข้ามาสมทบกองทุนแม่ของแผ่นดิน
๖.มีการรายงานผลสถานะทางการเงินให้ทราบเป็นประจำในทุกๆปี
         ๗.มีขับเคลื่อนกิจกรรมป้องกัน การเฝ้าระวัง การบำบัดรักษา และการดูแลสังคม  เช่น  ในการออกระเบียบข้อบังคับของกองทุนฯ  จะเน้นในเรื่องการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด  การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส   เช่น เด็กกำพร้า  คนพิการ  คนชรา  และครอบครัวที่มีฐานะยากจนในหมู่บ้าน   อันดับต่อมาก็จะมุ่งไปในเรื่องการส่งเสริมการสร้างอาชีพ    สร้างรายได้ให้กับประชาชนภายในหมู่บ้าน  

ผลการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน
        การดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน  เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดแล้ว  ยังจัดกิจกรรมช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส และสนับสนุนในงานประเพณีของหมู่บ้านตลอดจนกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ของหมู่บ้าน ต่างๆ  เช่น
        ๑.กิจกรรมป้องกัน การเฝ้าระวัง ตรวจเวรยาม  เฝ้าระวังความปลอดภัย ในหมู่บ้าน และสถานการณ์ยาเสพติด ควบคุมเฝ้าระวังไม่ให้มีผู้ค้า ผู้เสพ ภายในหมู่บ้าน
        ๒.สนับสนุนในกิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการเข้าร่วมรณรงค์วันประกาศต่อสู้เรื่อง
           ยาเสพติด 
        ๓.กิจกรรมครอบครัว กีฬาพื้นบ้านประสานใจ เพื่อสร้างความสามัคคีในชุมชน และใช้กีฬาต้านภัยยาเสพติด
        ๔.จัดงานวันหลอมใจต้านภัยยาเสพติด วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ทุกปี เป็นงานใหญ่และเป็นงานประจำปี
ของหมู่บ้าน  ที่ทุกคนให้ความสำคัญ
           -ผู้นำศาสนานำเด็กและเยาวชนดื่มน้ำสาบาน ประกาศตัวไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด 
             ในวันที่ ๑๔  กุมภาพันธ์  ประจำทุกปี
           -เลี้ยงน้ำชา เพื่อสมทบเงินกองทุนแม่ของแผ่นดิน
-              -ร่วมกิจกรรมระดมทุนกองทุนแม่ของแผ่นดิน เช่น เชิญศิลปินดัง 
                 บ่าววี เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ 
                 ณ  โรงเรียนบ้านปากคลอง
-             - กิจกรรมช่วยเหลือผู้สูงอายุ ซื้อผ้าถุงและผ้าห่ม
-            - การแสดงกิจกรรมของนักเรียน การแสดงของชาวบ้านปากคลอง               และการแสดงดนตรี
            ๕.พัฒนาสถานที่สาธารณะประโยชน์   ทุกแห่งในหมู่บ้านการสนับสนุนในการซ่อมแซมมัสยิด
          
         ๖.กิจกรรมมุติตาต่อผู้ให้กำเนิดของเด็กนักเรียน และทุนการศึกษาในการจัด 
            กิจกรรมวันแม่ร่วมกับโรงเรียน และจัดเป็นเงินสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับ
            เด็กนักเรียนด้อยโอกาส 
        ๗. ของบสนับสนุนเข้ากองทุนแม่ของแผ่นดินจากองค์การบริหารส่วน
             ตำบลเกาะกลาง          
         ๘.ส่งเสริมกิจกรรมการทำความสะอาดที่สาธารณให้กับเยาวชน 
            ร่วมมือกัน สร้างสรรค์ และปลูกฝังสำนึกรักแผ่นดินแม่
          ๙.ส่งเสริมการดำรงชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง และกิจกรรมกลุ่มอาชีพ  (โครงการศิลปาชีพทุ่งทะเลฯ) เช่น  
   การส่งเสริมครอบครัวให้ปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง   การจักสานเตยปาหนัน  กลุ่มอาชีพสตรีการทอผ้า




ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน 
๑.เกิดจากศักยภาพของผู้นำหมู่บ้านที่มีความเข้าใจ สนใจเอาใจใส่  ให้ความสำคัญใน การดำเนินกิจกรรมพัฒนากระบวนการแก้ไขปัญหายาเสพติด  และเป็นผู้ประสานขับเคลื่อนงานหมู่บ้านต่อให้สำเร็จ 
๒.หมู่บ้านได้รับการสนับสนุนงบประมาณในด้านอื่นๆ จากภาครัฐ และหน่วยงาน ให้คำแนะนำ  เป็นที่ปรึกษา ส่งเสริม  และสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการแก้ไขปัญหายาเสพติด
๓.ผู้นำชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนในหมู่บ้านมีส่วนร่วม  และชุมชนมีความสามัคคี  ในการแสวงหาเงินทุนต่อยอดเงินกองทุนแม่ของแผ่น  เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนกิจกรรม เชิญชวนชาวบ้านร่วมบริจาคสมทบทุน (ทุนศรัทธา) และเจ้าหน้าที่ส่วนราชการต่างๆที่อยู่ในหมู่บ้านจัดกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญ  และงานประจำปีของหมู่บ้าน (ทุนปัญญา)
๔.ผู้นำชุมชน คณะกรรมการกองทุนฯ และชาวบ้าน มีความมุ่งมั่น มีเป้าหมายที่ชัดเจน  และมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจเป็นหลักการทำคุณงาม ความดีของคนในชุมชน  ซึ่งความหวังสูงสุดของคณะกรรมการกองทุนฯและชาวบ้านปากคลอง เพื่อตอบสนองดั่งความพระประสงค์  ของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
....................................................................................