กองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านปากคลอง
หมู่ที่ ๓
ตำบลเกาะกลาง อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
ประวัติและความเป็นมา
บ้านปากคลอง หมู่ที่ ๓ ตำบลเกาะกลาง อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ในอดีตจนถึงปัจจุบันไม่เคยมีปัญหาในเรื่องของยาเสพติดไม่ว่าจะเป็นผู้เสพ หรือผู้ค้า ที่อยู่ในหมู่บ้าน ชาวบ้านรู้จักการวางแผนการป้องกันปัญหาเรื่องยาเสพติดได้เป็นอย่างดี ในการทำดีของหมู่บ้าน จึงส่งผลให้อำเภอเกาะลันตา เห็นสมควรที่จะประกาศให้ บ้านปากคลอง เป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติดที่ยั่งยืน เพื่อตอบสนองความดีต่อไป
ได้รับการพิจารณาให้เข้ารับพระราชทานเงินขวัญถุงกองทุนแม่ของแผ่นดิน
เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๔๘ โดยมี ผู้ใหญ่ปรีชา รักจิตต์ เป็นประธาน
คณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน
อีกทั้งยังมีโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าทุ่งทะเลอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ จัดตั้งขึ้นในพื้นที่ เพื่อสนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ให้อนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าชายเลน ให้มีการ ศึกษาวิจัย ทดลองและขยายพันธุ์สัตว์น้ำทะเล
ที่คาดว่าจะเป็นสัตว์น้ำทะเลเศรษฐกิจที่ดีในอนาคต จะได้นำไปส่งเสริมเป็นอาชีพของราษฎร
และเพื่อยกระดับรายได้ของประชาชนในพื้นที่ป่าทุ่งทะเลให้พออยู่พอกิน สามารถ พึ่งตนเองได้
โดยเน้นการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ พัฒนา เพื่อสนองพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถยังความซาบซึ้งให้กับชาวบ้านปากคลอง เป็นล้นพ้น
วิธีการจัดตั้งกองทุนแม่ของแผ่นดิน
๑.จัดเวทีประชุมชาวบ้าน
เพื่อทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของกองทุนแม่ของแผ่นดิ
๒.คัดเลือกคณะกรรมการกองทุนฯ และคณะกรรมการที่ปรึกษา
๓.รับสมัครสมาชิก โดยชาวบ้านทั้งหมดที่อยู่ในหมู่บ้าน พร้อมมติประชุมการดำเนินงานจากชาวบ้าน
เป็นส่วนใหญ่
๔.จัดทำระเบียบข้อบังคับการใช้จ่ายเงินกองทุนแม่ของแผ่นดิน
๕.เชิญหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ทุกส่วนราชการ
เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดตั้งกองทุนแม่ของแผ่นดิน
การดำเนินกิจกรรม
และเป็นที่ปรึกษา
๖.ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากเงินกองทุนอื่นๆในหมู่บ้าน
เข้ามาร่วมสมทบกับกองทุนแม่ของ
แผ่นดิน
กระบวนการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านปากคลอง
๑.สร้างความเข้าใจแก่ทุกครัวเรือนจัดเวทีประชุมชาวบ้าน
เพื่อทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของกองทุนแม่ของแผ่นดิน
๒.การจัดเวทีการประชุมจะเน้นการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวบ้านแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ
ของการบริหารกองทุน ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ทุกประการ
กระบวนการทั้งหมดได้ผ่านการลงมติที่ยอมรับจากชาวบ้าน
๓.ชาวบ้านคัดเลือกคณะกรรมการกองทุนฯ พร้อมจัดทำระเบียบข้อบังคับใช้ของกองทุนแม่ของแผ่นดินในหมู่บ้าน ซึ่งทุกคนพร้อมที่จะพัฒนากองทุนแม่ของแผ่นดิน
๔.แสวงหาเงินทุนเพิ่มเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรม
เชิญชวนชาวบ้านร่วมบริจาคสมทบทุน และเจ้าหน้าที่ส่วนราชการต่างๆที่อยู่ในหมู่บ้าน จัดกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญ และงานประจำปีของหมู่บ้าน
๕.เงินกองทุนต่างๆในหมู่บ้านที่ตั้งไว้เป็นเงินส่วนของสาธารณะประโยชน์
นำเข้ามาสมทบกองทุนแม่ของแผ่นดิน
๖.มีการรายงานผลสถานะทางการเงินให้ทราบเป็นประจำในทุกๆปี
๗.มีขับเคลื่อนกิจกรรมป้องกัน การเฝ้าระวัง
การบำบัดรักษา และการดูแลสังคม เช่น ในการออกระเบียบข้อบังคับของกองทุนฯ จะเน้นในเรื่องการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เช่น เด็กกำพร้า คนพิการ คนชรา และครอบครัวที่มีฐานะยากจนในหมู่บ้าน อันดับต่อมาก็จะมุ่งไปในเรื่องการส่งเสริมการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชนภายในหมู่บ้าน
ผลการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน
การดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน
เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดแล้ว ยังจัดกิจกรรมช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส
และสนับสนุนในงานประเพณีของหมู่บ้านตลอดจนกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ของหมู่บ้าน ต่างๆ
เช่น
๑.กิจกรรมป้องกัน การเฝ้าระวัง ตรวจเวรยาม เฝ้าระวังความปลอดภัย
ในหมู่บ้าน และสถานการณ์ยาเสพติด ควบคุมเฝ้าระวังไม่ให้มีผู้ค้า ผู้เสพ
ภายในหมู่บ้าน
๒.สนับสนุนในกิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน
ในการเข้าร่วมรณรงค์วันประกาศต่อสู้เรื่อง
ยาเสพติด
๓.กิจกรรมครอบครัว กีฬาพื้นบ้านประสานใจ เพื่อสร้างความสามัคคีในชุมชน
และใช้กีฬาต้านภัยยาเสพติด
๔.จัดงานวันหลอมใจต้านภัยยาเสพติด วันที่ 14 กุมภาพันธ์
ทุกปี เป็นงานใหญ่และเป็นงานประจำปี
ของหมู่บ้าน ที่ทุกคนให้ความสำคัญ
-ผู้นำศาสนานำเด็กและเยาวชนดื่มน้ำสาบาน ประกาศตัวไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
ในวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ประจำทุกปี
- -ร่วมกิจกรรมระดมทุนกองทุนแม่ของแผ่นดิน เช่น เชิญศิลปินดัง
บ่าววี เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
บ่าววี เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
ณ โรงเรียนบ้านปากคลอง
- - กิจกรรมช่วยเหลือผู้สูงอายุ ซื้อผ้าถุงและผ้าห่ม
- - กิจกรรมช่วยเหลือผู้สูงอายุ ซื้อผ้าถุงและผ้าห่ม
- - การแสดงกิจกรรมของนักเรียน การแสดงของชาวบ้านปากคลอง และการแสดงดนตรี
๕.พัฒนาสถานที่สาธารณะประโยชน์ ทุกแห่งในหมู่บ้านการสนับสนุนในการซ่อมแซมมัสยิด
๖.กิจกรรมมุติตาต่อผู้ให้กำเนิดของเด็กนักเรียน และทุนการศึกษาในการจัด
กิจกรรมวันแม่ร่วมกับโรงเรียน และจัดเป็นเงินสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับ
เด็กนักเรียนด้อยโอกาส
๗. ของบสนับสนุนเข้ากองทุนแม่ของแผ่นดินจากองค์การบริหารส่วน
ตำบลเกาะกลาง
ตำบลเกาะกลาง
๘.ส่งเสริมกิจกรรมการทำความสะอาดที่สาธารณให้กับเยาวชน
ร่วมมือกัน สร้างสรรค์ และปลูกฝังสำนึกรักแผ่นดินแม่
๙.ส่งเสริมการดำรงชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง และกิจกรรมกลุ่มอาชีพ (โครงการศิลปาชีพทุ่งทะเลฯ) เช่น
ร่วมมือกัน สร้างสรรค์ และปลูกฝังสำนึกรักแผ่นดินแม่
๙.ส่งเสริมการดำรงชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง และกิจกรรมกลุ่มอาชีพ (โครงการศิลปาชีพทุ่งทะเลฯ) เช่น
การส่งเสริมครอบครัวให้ปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง การจักสานเตยปาหนัน กลุ่มอาชีพสตรีการทอผ้า
๑.เกิดจากศักยภาพของผู้นำหมู่บ้านที่มีความเข้าใจ
สนใจเอาใจใส่ ให้ความสำคัญใน
การดำเนินกิจกรรมพัฒนากระบวนการแก้ไขปัญหายาเสพติด และเป็นผู้ประสานขับเคลื่อนงานหมู่บ้านต่อให้สำเร็จ
๒.หมู่บ้านได้รับการสนับสนุนงบประมาณในด้านอื่นๆ
จากภาครัฐ และหน่วยงาน ให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษา ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการแก้ไขปัญหายาเสพติด
๓.ผู้นำชุมชนเข้มแข็ง
ประชาชนในหมู่บ้านมีส่วนร่วม และชุมชนมีความสามัคคี ในการแสวงหาเงินทุนต่อยอดเงินกองทุนแม่ของแผ่น เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนกิจกรรม
เชิญชวนชาวบ้านร่วมบริจาคสมทบทุน (ทุนศรัทธา) และเจ้าหน้าที่ส่วนราชการต่างๆที่อยู่ในหมู่บ้านจัดกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญ และงานประจำปีของหมู่บ้าน
(ทุนปัญญา)
๔.ผู้นำชุมชน
คณะกรรมการกองทุนฯ และชาวบ้าน มีความมุ่งมั่น มีเป้าหมายที่ชัดเจน และมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจเป็นหลักการทำคุณงาม ความดีของคนในชุมชน
ซึ่งความหวังสูงสุดของคณะกรรมการกองทุนฯและชาวบ้านปากคลอง
เพื่อตอบสนองดั่งความพระประสงค์ ของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
....................................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น